ไขข้อสงสัย ป่วยแบบไหนถึงถูกส่งไป 'โรงพยาบาลสนาม' หากไม่มีอาการกักตัวอยู่บ้านได้หรือไม่? : ช็อตเด็ด ถกไม่เถียง
logo ถกไม่เถียง

ไขข้อสงสัย ป่วยแบบไหนถึงถูกส่งไป 'โรงพยาบาลสนาม' หากไม่มีอาการกักตัวอยู่บ้านได้หรือไม่? : ช็อตเด็ด ถกไม่เถียง

ถกไม่เถียง : จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย หลายภาคส่วนออกมารณรงค์ให้ประชาชน "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" เพื่อสกัดเชื้อไ ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,ช่อง7HD,TERODigital,กด35,ฟอร์ดประเทศไทย,ฟอร์ด,ford,โควิด19,โรงพยาบาลสนาม,กักตัวอยู่บ้าน,วัคซีน,ระบาด,สถานประกอบการ,มาตรการป้องกัน,หมอตี๋,สาธิต,กรมอนามัย

6,694 ครั้ง
|
28 พ.ค. 2564

       จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย หลายภาคส่วนออกมารณรงค์ให้ประชาชน "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" เพื่อสกัดเชื้อไม่ให้ลุกลาม หลายคนให้ความร่วมมืออย่างดี ทั้งภาครัฐและเอกชน ก็มีนโยบายให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home ได้ แต่แนวโน้มผู้ติดเชื้อก็ยังคงเพิ่มสูงขึ้น และเมื่อพบผู้ป่วยจำนวนมาก จนโรงพยาบาลไม่สามารถรองรับได้ ก็ทำให้เราได้รู้จักกับ "โรงพยาบาลสนาม" ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับจำนวนผู้เข้ารับการรักษาได้ทีละจำนวนมาก และเป็นการแยกผู้ป่วยออกจากชุมชน โดยต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมการแพทย์ 
 
ผู้ป่วยอาการแบบไหน ถึงจะถูกส่งไปรักษาที่โรงพยาบาลสนาม?
 
          รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายสาธิต ปิตุเตชะ เผยในรายการ "ถกไม่เถียง" ว่าโควิด-19 เป็นโรคระบาดที่ติดจากคนสู่คน การที่จะให้เขากักตัวอยู่บ้านอาจมีปัญหา ต้องพาตัวเข้าสู่การรักษาเพื่อไม่ให้มีการแพร่เชื้อสู่บุคคลอื่น ถ้าตรวจพบแล้วว่าติดเชื้อแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยก็จะถูกส่งเข้าระบบการรักษา มีการควบคุมและกักกัน เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่ระบาดเชื้อ แม้จะไม่แสดงอาการก็ต้องได้รับการดูแล แต่จะได้รับการดูแลแบบไหน ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีมาตรการ และออกแบบไว้อย่างชัดเจนว่า ถ้าเป็นผู้ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ ต้องไปรักษาที่โรงพยาบาลสนาม หรือ Hospitel ซึ่ง Hospitel  มีที่มาจากการรวมคำว่า Hospital ที่แปลว่า โรงพยาบาล และ Hotel ที่แปลว่า โรงแรม เข้าด้วยกัน จากการปรับเปลี่ยนโรงแรมให้เป็นสถานพยาบาลชั่วคราว ถ้าเป็นผู้ติดเชื้อที่มีอาการปานกลาง ก็จะถูกส่งไปยังโรงพยาบาล และถ้ามีอาการรุนแรง ก็จะถูกส่งไปดูแลในห้อง ICU
 
             ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม และ Hospitel นั้น โรงพยาบาลสนาม ผู้ป่วยจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ส่วน Hospitel อาจจะมีค่าใช้จ่ายบางส่วน หากรักษากับทางโรงพยาบาลเอกชน เพื่อแลกกับความสะดวกสบายและความเป็นส่วนตัว แต่ผู้ป่วยสามารถเบิกกับประกันส่วนตัว ประกันสังคม หรือ บัตรทอง ได้
 
คนที่มีความเสี่ยงไปอยู่โรงพยาบาลสนามได้หรือไม่?
 
            สำหรับคนที่มีความเสี่ยง จะยังไม่ถูกส่งไปยังโรงพยาบาลสนาม คนที่พบว่าตัวเองเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ต้องกักตัวเองอยู่ที่บ้าน เพื่อรอผลตรวจว่าเป็นบวกหรือไม่ ถึงแม้เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงแล้วรอผลตรวจแล้วพบว่าไม่ติดเชื้อ ก็ต้องกักตัวอยู่ที่บ้านให้ครบ 14 วันก่อน
 
คนที่จะไปโรงพยาบาลสนามได้ ต้องเป็นผู้ติดเชื้อเท่านั้นใช่ไหม?
 
          แน่นอนว่าต้องเป็นผู้ที่ตรวจพบว่าติดเชื้อแล้วเท่านั้น หลักการที่เราวางไว้โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ โรงพยาบาลในทุกเครือข่ายที่เราวางไว้ ที่ไหนตรวจพบผู้ติดเชื้อ ที่นั่นต้องดูแล แล็บเอกชน หรือแล็บที่ได้มาตรฐาน ต้องจับคู่กับโรงพยาบาล  ซึ่งการตรวจเชื้อสามารถตรวจเชื้อได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือหน่วยบริการสาธารณสุขในเขตพื้นที่ และเมื่อพบฟังผลแล้วพบว่าตนการติดเชื้อ สามารถติดต่อสายด่วน 1669 หรือ 1668 หรือ ติดต่อโรงพยาบาลที่คุณตรวจการติดเชื้อได้เลย เพราะตามกฎเเล้วโรงพยาบาลต้นทางที่เป็นผู้ตรวจเชื้อมีหน้าที่ต้องจัดหาเตียงให้ผู้ป่วยและส่งต่อไปที่อื่นหากพื้นที่ไม่พอ ซึ่งการมาอยู่โรงพยาบาลสนามจะช่วยตัดวงจรการเเพร่ระบาดของเชื้อไม่ให้ขยายไปสู่ผู้อื่น เเละรักษาจนกว่าคุณจะหมดเชื้อ  
 
ถ้าผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนาม มีอาการหนัก มีวิธีจัดการอย่างไร?
 
         นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ให้ข้อมูลว่า ถ้าผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนามมีอาการเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่จะเกิดจากการตรวจพบลักษณะอาการแสดง กับการที่ผู้ป่วยบอกว่าเขามีอาการ ดังนั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้ป่วยแจ้งว่ามีอาการ เช่น มีไข้สูงขึ้น มีไอ เหนื่อยหอบ แสดงว่าเชื้อลงปอด มีปอดอักเสบ ปอดบวม แพทย์ พยาบาล จะรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที  และสิ่งหนึ่งที่ในโรงพยาบาลสนามจะทำคือการตรวจเอ็กซเรย์ปอดอย่างต่อเนื่อง ประเมินร่างกาย หากมีการพร่องออกซิเจน แสดงว่าอาจมีภาวะเชื้อลงปอด ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลเช่นกัน
 
ส่วนคนที่ไม่มีอาการเลย หรืออาการน้อย จะสามารถกักตัวอยู่บ้านได้หรือไม่?
 
            นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า เรามีแผนจำลองถ้ามีผู้ติดเชื้อมากขึ้น จำนวนเตียงไม่เพียงพอ เรามีแนวทาง กักตัวอยู่บ้าน (Home Isolation) ที่ออกแบบเอาไว้แล้ว แต่กรณีนี้ยังมีจุดอ่อนบางส่วน แต่อย่างไรก็ตาม หากมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ถ้าจำเป็นต้องใช้วิธีการนี้ เราก็มีแผนรองรับอยู่แล้ว รอการอนุมัติจากฝ่ายวิชาการว่า จะเดินสู่มาตรการนี้หรือไม่
 
ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ให้ปลอดภัยไร้โควิด-19 ไม่แพร่เชื้อสู่คนในครอบครัว
 
          แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้พักอาศัยร่วมกันในครอบครัว ต้องหมั่นประเมินตนเองและบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน คอยสังเกตอาการอยู่เสมอ หมั่นดูแลสุขอนามัยด้วยการล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ และต้องไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกัน 
 
         สำหรับการดูแลด้านความสะอาดของที่พักอาศัย ต้องขยันทำความสะอาดโดยเฉพาะอุปกรณ์ที่มีการใช้งานร่วมกันหลายคน เช่น ลูกบิดประตู โต๊ะ เก้าอี้ โซฟา ตู้เย็น ส่วนในตัวที่อยู่อาศัย ควรทำให้มีปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยการเปิดประตู หน้าต่างเพื่อระบายอากาศ
 
          การกำจัดขยะมูลฝอย ต้องมีการใส่ถุงปิดปากถุงให้มิดชิด คัดแยกบรรจุภัณฑ์ทำความสะอดออกจากขยะทั่วไป หน้ากากอนามัย หรือขยะติดเชื้อก็ควรแยกทิ้งให้เหมาะสม โดยการใส่ถุงรองรับมัดปากถุงให้แน่น พร้อมเขียนกำกับว่าเป็นขยะติดเชื้อ แล้วถึงนำไปทิ้งในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด
 
         ที่สำคัญ ต้องอย่าเอาตัวเองเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง เพื่อคนที่คุณรัก "อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ" 
 
ถกไม่เถียง : ไขข้อสงสัย ป่วยแบบไหนถึงถูกส่งไป โร


ติดตาม รายการ “ถกไม่เถียง” ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ” ภายใต้การผลิตของบริษัท เทโร เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และสามารถรับฟังผ่านทาง hitz955.com