สุดยินดี! รพ.นครพิงค์ ทำคลอดคุณแม่ติดโควิด-19 แต่หนูน้อยปลอดภัย ไม่พบเชื้อ
logo ข่าวอัพเดท

สุดยินดี! รพ.นครพิงค์ ทำคลอดคุณแม่ติดโควิด-19 แต่หนูน้อยปลอดภัย ไม่พบเชื้อ

ข่าวอัพเดท : โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ ได้ทำการผ่าตัดทำคลอดให้กับมารดาที่ติดเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2564 ที่ผ่านมานั้น ล่าสุดทางโ ทำคลอดคุณแม่ติดโควิด,โรงพยาบาลนครพิงค์,เชียงใหม่,ทำคลอด

4,222 ครั้ง
|
10 พ.ค. 2564
โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่ ได้ทำการผ่าตัดทำคลอดให้กับมารดาที่ติดเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2564 ที่ผ่านมานั้น ล่าสุดทางโรงพยาบาลออกมาเปิดเผยว่า ทารกเพศชายมีอายุ 15 วัน ตอนนี้ สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ผลตรวจหาเชื้อโควิด-19 เป็นลบ
 
โรงพยาบาลนครพิงค์ เปิดเผยรูปภาพพร้อมข้อความว่า 
 
"ปลอดภัยแล้วค่ะ ❤ ทารกที่คลอดจากแม่ที่ติดเชื้อโควิด ปลอดภัย ไม่พบเชื้อ
 
จากกรณีที่รพ.นครพิงค์ได้ทำการผ่าตัดคลอดให้กับมารดาที่ติดเชื้อโควิด ไปเมื่อวันที่  22 เมษายน 2564  นั้น จนถึงวันนี้ทารกเพศชายมีอายุ 15 วัน สุขภาพแข็งแรงดี ได้ทำการตรวจหาเชื้อโควิดตามมาตรฐานด้วยวิธี RT-PCR  2 ครั้งเมื่ออายุ 1 วันและ 3 วัน ผลเป็นลบทั้ง 2 ครั้ง 
และในวันนี้ได้ทำการตรวจอีกครั้งเพื่อความมั่นใจของครอบครัว ผลตรวจเป็นลบ จึงยืนยันได้ว่าทารกปลอดภัยไม่ติดเชื้อโควิดแน่นอนแล้วค่ะ ส่วนคุณแม่หลังจากผ่าตัดที่รพ.นครพิงค์ ก็ฟื้นตัวดีและได้ย้ายไปพักฟื้นต่อที่รพ.อื่น อาการดีขึ้นเป็นลำดับและใกล้จะได้ออกจากรพ.แล้วเช่นกัน รอวันที่จะได้พบหน้าลูกเป็นครั้งแรกค่ะ 
 
How to ดูแลทารกแรกเกิด ที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ COVID 19 ในโรงพยาบาลนครพิงค์ โดยทั่วไปแล้ว โอกาสการถ่ายทอดเชื้อโควิดจากแม่สู่ลูก (vertical transmission) ค่อนข้างน้อย เฉลี่ยประมาณ 2 % และในเด็กทารกแรกเกิดที่ตรวจพบเชื้อ ส่วนมากจะมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับแม่หลังคลอด
 
การคลอดทารกที่แม่ติดเชื้อจึงต้องมีการดูแลที่แตกต่างจากทารกทั่วไปคือ จะมีการแยกห้องรับเด็กออกมาจากห้องที่แม่ทำการคลอด เพื่อลดการสัมผัสเชื้อจากสภาพแวดล้อมในห้องคลอด รวมถึงบุคคลากรทางการแพทย์เองก็จะต้องใส่ชุดป้องกันการติดเชื้อจากแม่ และเป็นการลดการปนเปื้อนเชื้อไปยังทารกอีกด้วย
 
หลังการคลอดถ้าแม่ที่ติดเชื้อโควิดไม่มีอาการผิดปกติใดๆ หากต้องการดูแลทารกเอง ก็สามารถดูแลทารกในห้องความดันลบห้องเดียวกันได้ แต่จะต้องป้องกันการติดเชื้อไปยังทารก ด้วยการล้างมือทุกครั้ง ก่อนและหลังสัมผัสทารก รวมถึงใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
แต่ในกรณีที่แม่ ยังมีอาการป่วยหรือยังไม่สามารถดูแลทารกเองได้ ทารกเหล่านี้จะได้รับการดูแลในตู้อบ ภายในห้องความดันลบแยกจากแม่ในช่วง 72 ชั่วโมงแรกของชีวิต โดยมีแพทย์และพยาบาลจากหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด เป็นผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด
 
ส่วนกรณีการให้นมบุตร นั้นสามารถให้ได้ น้ำนมแม่ส่วนใหญ่จะตรวจไม่พบเชื้อ การกินนมแม่จึงถือว่ามีความปลอดภัย หากแม่ประสงค์จะให้นมแม่ ทางโรงพยาบาลให้ความสำคัญในขั้นตอนการบีบเก็บน้ำนม ตลอดจนการขนส่งน้ำนมมายังทารก จะต้องทำอย่างปลอดเชื้อด้วย แต่หากไม่สามารถให้นมแม่ได้ เช่น แม่มีอาการหนัก อาจพิจารณาให้ นมผสม หรือ pasteurized donor human milk  แทนได้
 
ด้านการตรวจหาเชื้อในทารก จะทำการตรวจ RT-PCR ครั้งแรกเมื่อ อายุประมาณ 24 ชั่วโมงหลังเกิด และตรวจซ้ำที่อายุ 48-72 ชั่วโมง หากได้ผลลบ 2 ครั้ง แสดงว่าทารกไม่มีการติดเชื้อ 
พญ.ปัฐมาลักษณ์ เผือกผ่อง
พญ.ประภาวรรณ เมธาเกษร
พญ.กัลมลี เจนจรัตน์
พญ.กัญญรัตน์ อินพรหม 
กุมารแพทย์ สาขาทารกแรกเกิดและปริกำเนิด
***โพสนี้ได้รับอนุญาตจากคุณแม่แล้วค่ะ ????
 
ที่มา : โรงพยาบาลนครพิงค์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง