เตียงหายาก ติดแล้วทำไง? ป่วยโควิด-19 ยกบ้าน 6 คน เหตุโรงพยาบาล ไม่รับไปรักษา
logo ถกไม่เถียง

เตียงหายาก ติดแล้วทำไง? ป่วยโควิด-19 ยกบ้าน 6 คน เหตุโรงพยาบาล ไม่รับไปรักษา

ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,ช่อง7HD,TERODigital กด35,CH7HD,โควิด19,ติดยกบ้าน,เตียงไม่พอ,โรงพยาบาลสนาม,กักตัว,สายด่วน,หมอมานัส,ผู้ป่วยโควิด19,สายไหม,เตียงหายาก,ไม่รับรักษา

2,733 ครั้ง
|
21 เม.ย. 2564

 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน ที่จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และกระจายตัวออกไปอย่างรวดเร็วและเป็นวงกว้าง ทำให้เกิดปัญหาโรงพยาบาลหลายแห่งเตียงเต็ม หรือเกินศักยภาพของหมอ และโรงพยาบาลที่จะรักษา จนต้องมีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในหลายจุด แต่ก็ดูเหมือนยังไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นทวีคูณ จนกระทั่งเกิดเคสผู้ป่วยโควิด-19 รายหนึ่ง ย่านสายไหม จากติดเพียง 1 คน แต่ลามติดยกครัว 6 คน เหตุเพราะต้องกักตัวเองอยู่บ้าน หลัง รพ. ไม่รับ จนมาเป็นประเด็นถกในวันนี้ว่า เตียงหายาก ติดแล้วทำไง? ป่วยโควิด-19 ยกบ้าน 6 คน เหตุโรงพยาบาล ไม่รับไปรักษา
 
"ถกไม่เถียง" วันนี้ ( 21 เม.ย. 64 ) ดำเนินรายการโดยพิธีกร ทิน โชคกมลกิจ ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ และโฆษกกรมการแพทย์ และคุณเกด ผู้ป่วยโควิด-19 ย่านสายไหม ที่ติดเชื้อยกครอบครัว มาพูดคุยกัน
 
ถกไม่เถียง : เตียงหายาก ติดแล้วทำไง? ป่วยโควิด-1ถกไม่เถียง : เตียงหายาก ติดแล้วทำไง? ป่วยโควิด-1
 
โดยคุณเกด ผู้ป่วยโควิด-9 ย่านสายไหม ที่เป็นข่าวว่าติดเชื้อยกครอบครัว ได้มาเล่าเหตุการณ์ให้ฟังว่า คนแรกที่ติดคือพ่อของแฟน หรือรคุณปู่ของหลานๆ ออกไปรับประทานอาหารกับเพื่อนที่เป็นโควิด-19 ในวันที่ 8 เม.ย. ตอนแรกไม่รู้ตัว มาเริ่มมีอาการเหมือนมีไข้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว มีน้ำมูก วันที่ 12 เม.ย. เลยรีบไปตรวจวันที่ 13 เม.ย. เพราะวันที่ 12 เม.ย.ลุกไม่ไหว ไปตรวจตอนเช้า รู้ผลเย็น ทางรพ.ก็โทรมาแจ้งแนะนำให้กักตัวเอง แยกของใช้กับผู้อื่น ซึ่งทางคุณปู่ ก็ทำตามที่ทาง รพ.แนะนำทุกอย่าง แต่ห้องน้ำต้องใช้ร่วมกัน ทุกครั้งเมื่อใช้เสร็จคุณปู่ก็จะล้างตลอด ด้วยความที่คุณปู่อายุมากแล้ว เราก็เป็นกังวลเพราะยังไม่ได้เตียง เราก็โทรไปทุกเบอร์ที่เขาแจ้งไว้ เพื่อจะสอบถามการปฏิบัติตัว ถามเรื่องเตียงรพ. แล้วเราก็ได้ไปลงชื่อหากาารตรวจเชื้่อทั้งบ้าน ก็ไปตรวจที่รพ. ตอนแรกผลผู้ใหญ่ 3 คน เป็นลบ ผลของเด็กยังไม่ออก ตอนหลังเด็กเริ่มมีอาการ เลยกลับไปตรวจอีก ปรากฎว่าผลออกมาเป็นบวก เลยต้องตรวจกันใหม่หมด ผลก็ออกมาเป็นบวกทั้งหมด วันที่รอเตียง วันที่ 18 เม.ย. คือคุณพ่ออาการหนักแล้ว ก็ตัดสินใจไปรพ. โดนรพ.ปฏิเสธว่ารพ.ศักยภาพไม่เพียงพอ จนเป็นข่าว แล้วมีคนเข้ามาช่วยเหลือจนได้รพ.
 
ถกไม่เถียง : เตียงหายาก ติดแล้วทำไง? ป่วยโควิด-1ถกไม่เถียง : เตียงหายาก ติดแล้วทำไง? ป่วยโควิด-1
 
สำหรับอาการตอนนี้ คุณเกด บอกว่า ของคุณเกดเองเริ่มมีอาการเหนื่อย ของแฟนจมูกไม่ได้กลิ่น ของเด็ก 2 คน มีอาการไอ มีเสมหะ แต่ไม่มีไข้ ส่วนเรื่องค่าใช้จ่าย ตอนนี้ยังไม่มีค่าใช้จ่าย ตั้งแต่ตอนไปตรวจเลย โดยทางรพ.รับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด ตอนนี้ไม่ได้กังวลอะไรแล้ว เพราะใกล้มือหมอ ก็หมดห่วง ตอนแรกที่กังวลเพราะที่บ้านมีผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว และเด็กเล็ก ตอนนี้ก็โล่งแล้ว
 
ถกไม่เถียง : เตียงหายาก ติดแล้วทำไง? ป่วยโควิด-1ถกไม่เถียง : เตียงหายาก ติดแล้วทำไง? ป่วยโควิด-1
 
ฟาก นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ และโฆษกกรมการแพทย์ ได้มาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อติดโควิด-19 ว่า นโยบายให้กักตัวอยู่บ้านของบางประเทศ ที่เขาทำแบบนั้นอาจเพราะศักยภาพของรพ.เขาไม่สามารถรองรับผู้ป่วยจำนวนมากได้ จริงๆแล้วศักยภาพของเราถ้า รพ.สามารถรับผู้ป่วยมาอยู่รพ.ได้ การแพร่ระบาดจะลดลง แต่ถ้าประเทศไทยผู้ป่วยมากขึ้นวันละหมื่น ถึงวันนั้นเราอาจจะประกาศให้กักตัวอยู่ที่บ้าน ซึ่งตอนนี้เราประเมินสถานการณ์แล้ว ศักยภาพเราน่าจะให้คนเข้ามารักษาที่รพ.ได้ สำหรับการรับคนเข้ามารักษาในรพ.ที่กรุงเทพฯ มีความซับซ้อนกว่าของต่างจังหวัด เพราะในกรุงทพฯจะมีทั้ง รพ.มหาวิทยาลัย รพ.เอกชน รพ.ของสาธารณสุขเอง ถ้ารพ.ใดเป็นคนตรวจหาผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้น ต้องรักษาจนจบ แต่ทีนี้ที่เกิดเหตุแบบกรณีคุณเกด อาจเป็นเพราะแต่ละที่ความพร้อมไม่เหมือนกัน ในช่วงนี้เราก็จะพยายามเพิ่มเตียง ไม่ว่าจะเป็น Hospitel และ รพ.สนาม เพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วย
 
ถกไม่เถียง : เตียงหายาก ติดแล้วทำไง? ป่วยโควิด-1ถกไม่เถียง : เตียงหายาก ติดแล้วทำไง? ป่วยโควิด-1
 
หมอมานัส ยังแนะนำ คนที่ต้องการจะไปตรวจโควิด-19 ฟรี ว่าจะมีการประเมินความเสี่ยงก่อน โดยต้องเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรือสัมผัสผู้ติดเชื้อ เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงถึงจะได้ตรวจฟรี โดยอยากให้ผู้ที่สงสัยประเมินตนเองก่อนว่ามีความเสี่ยงขนาดไหน ก่อนไปตรวจ เพื่อไม่ให้ไปแออัดกันที่จุดตรวจจนเกิดความเสี่ยง และไม่ว่าคุณจะรักษาตัวที่หน่วยงานไหน ถ้าคุณติดโควิด-19 รัฐบาลจะออกให้ แม้จะเป็นรพ.เอกชน หรือ Hospitel ก็ตาม ส่วนคนที่ปฏิเสธการไปรพ.สนาม ในสถานการณ์แบบนี้อยากให้ช่วยกัน อย่าปฏิเสธที่ถูกส่งไปรพ.สนาม แล้วกักตัวอยู่บ้านแทน เพราะเราไม่รู้ว่าคุณจะไปแพร่เชื้อให้ใครบ้าง การที่มาอยู่รพ.สนาม จะมีเจ้าหน้าที่มาคอยเช็กอาการอยู่ตลอด ในสถานการณ์แบบนี้พวกเราต้องช่วยกัน จะเรื่องมากไม่ได้ เรายังมีนโยบายให้มาโรงพยาบาล
 
ถกไม่เถียง : เตียงหายาก ติดแล้วทำไง? ป่วยโควิด-1ถกไม่เถียง : เตียงหายาก ติดแล้วทำไง? ป่วยโควิด-1
 
ส่วนเรื่องประเด็นการดูแลศพผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 นั้น คุณหมอมานัส เล่าว่า มาตรการดูแลศพผู้ติดเชื้อ ต้องมีการซีลถุงอย่างดีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ การจะนำศพมาประกอบพิธีทางศาสนาได้ไม่เป็นอะไร แต่อยู่ที่แนวทางปฏิบัติของวัดว่าจะสวดได้หรือไม่ แต่รดน้ำศพไม่ได้แน่นอน อย่างสวดศพอาจสวดได้สั้นๆ ใจเขาใจเราก็ต้องป้องกันทางวัดด้วย เพราะยิ่งทิ้งไว้นาน ภาระของวัดที่ต้องดูแลศพผู้ติดเชื้อก็จะมากขึ้น จริงๆโอกาสการแพร่กระจายเชื้อจากศพผู้ติดเชื้อไม่ได้สูง หากมีการซีลอย่างดี ส่วนเรื่องควันจากการเผาศพ ไม่มีเชื้อโรคแล้ว เพราะอุณหภูมิที่เผาสูงกว่า 100 องศา ส่วนเรื่องที่ญาติอยากเห็นหน้าผู้เสียชีวิต ถ้าถุงซิปในการห่อศพเป็นแบบใส ญาติก็มีโอกาสได้เห็นหน้าผู้เสียชีวิต แต่ส่วนใหญ่ถุงซิปที่ใช้ซีลจะเป็นแบบทึบ ก็ต้องรอดูว่าจะมีใครพัฒนาถุงซิปเหล่านี้ออกมาหรือไม่
 
คุณหมอมานัส ยังได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ที่เป็นกระแสข่าวว่าคนที่ฉีดแล้วเป็นอัมพฤกษ์ ว่า อาการทั้งหมดที่เกิดหลังจากการฉีดวัคซีน ต้องนำมาให้ผู้เชี่ยวชาญทบทวนว่าเกิดจากวัคซีนหรือไม่ ซึ่งอาการทั้งหมดที่ทราบเกิดจากระบบประสาท ยังไม่ได้คำนวณว่าเป็นผลทางตรงหรือทางอ้อม อยู่ระหว่างผู้เชี่ยวชาญกำลังประมวลผล สำหรับเงื่อนไขในการนำวัคซีนเข้ามา ต้องดูที่ความปลอดภัยก่อน และดูที่ประสิทธิภาพ หากเกิดผลกระทบก็จะต้องทำการทบทวน การฉีดวัคซีนกลุ่มแรกที่ฉีดจะเป็นแพทย์และพยาบาล ที่เป็นด่านหน้า ดังนั้นประชาชนก็จะไว้ใจได้ถึงความปลอดภัย กลุ่มลังเลจะรอดูว่ากลุ่มแรกที่ฉีดไปถ้าปลอดภัยและได้ผล ก็จะฉีดตาม
 
"สำหรับคนที่ติดโควิด-19 แล้ว แต่อาการเล็กน้อย หรือไม่มีอาการ ยังไงก็ไม่ยอมไปตรวจเพราะกลัวโดนจับเข้ารพ. สำหรับคนเหล่านี้ต้องมีความรับผิดชอบต่อคนรอบข้างและสังคม จริงๆมันมีกม.รองรับ แต่ผมเชื่อว่าคนไทยจริงๆยังมีสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม" คุณหมอมานัส กล่าว 
 
คุณหมอ แนะนำว่า ถ้าคนที่ต้องสงสัยติดเชื้อ เริ่มมีอาการก็ให้ทำตามขั้นตอน ไม่ต้องไปหาเตียงเอง เพราะมีจนท.ประสานหาให้ ค่าใช้จ่ายไม่ต้องเสีย เพราะทางรัฐเป็นคนออกให้ ก็อยากจะขอความเห็นใจให้ทีมงาน ในช่วงแรกอาจจะไม่ค่อยได้รับความสะดวก เพราะทีมงานแทบไม่ได้พักผ่อนกันเลย แนะนำสำหรับคนติดโควิด-19 ให้สังเกตอาการตัวเอง แยกของกิน ของใช้ แยกการใช้ห้องน้ำ ถ้ามีห้องเดียวเป็นไปได้ให้เข้าคนสุดท้าย แล้วทำความสะอาดทุกครั้ง และตอนนี้ ได้เพิ่มช่องทาง Line สบายดีบอท (@sabaideebot) ให้เข้ามาลงทะเบียนไว้ได้อีกช่องทางหนึ่ง
 
ถกไม่เถียง : เตียงหายาก ติดแล้วทำไง? ป่วยโควิด-1
 
สรุปโพล  ถ้าติดโควิด-19 คุณกังวลเรื่องอะไรมากที่สุด? 
 

ทั้งนี้ รายการ ถกไม่เถียง ยังเปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมแสดงความคิดเห็น รับสิทธิพิเศษจากผู้สนับสนุนและพันธมิตรได้ทุกตอนผ่าน TERO Digital ได้ที่ Facebook https://cutt.ly/gzL1mhU LINE https://cutt.ly/szL1RML


ติดตาม รายการ “ถกไม่เถียง” ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ” ภายใต้การผลิตของบริษัท เทโร เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และสามารถรับฟังผ่านทาง hitz955.com

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง