ผู้ปกครอง VS นักวิชาการ มองต่างมุม วิชาลูกเสือ ควรยกเลิก?
logo ถกไม่เถียง

ผู้ปกครอง VS นักวิชาการ มองต่างมุม วิชาลูกเสือ ควรยกเลิก?

ถกไม่เถียง : จากกรณีที่ นักเรียน ชั้น ม.3 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.กาฬสินธุ์ เกิดอุบัติเหตุจมน้ำเสียชีวิตขณะเข้าค่ายลูกเสือ โดยทางโรงเรียนได้ใช้หนอ ผู้ปกครอง,นักวิชาการ,มองต่างมุม,ถกไม่เถียง,วิชาลูกเสือ,ลูกเสือ,เนตรนารี,จมน้ำ,เสียชีวิต

1,639 ครั้ง
|
22 มี.ค. 2564
 
จากกรณีที่ นักเรียน ชั้น ม.3 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.กาฬสินธุ์  เกิดอุบัติเหตุจมน้ำเสียชีวิตขณะเข้าค่ายลูกเสือ โดยทางโรงเรียนได้ใช้หนองน้ำเป็นหนึ่งในฐานลูกเสือ ซึ่งครูจะให้เด็กนักเรียนเข้าฐานเพื่อทำกิจกรรมโดยให้เด็กมุดน้ำ และโยนหินลงไป จำลองว่าเด็กอยู่ในสงครามเพื่อหลบระเบิด แต่น้องผู้เสียชีวิตว่ายน้ำไม่เป็นและพยายามหลบเลี่ยง กระทั่งผู้ปกครองสังเกตเห็นว่าลูกชายไม่กลับบ้าน ก่อนพบว่าจมน้ำเสียชีวิต และทางคุณครูออกมายืนยันว่าดูแลอย่างดี พร้อมทั้งมีการเช็กชื่อตลอด คาดว่าเด็กจมน้ำตอนลงไปล้างตัวคนเดียว ซึ่งทางครอบครัวน้องผู้เสียชีวิตไม่เชื่อ เพราะลูกชายว่ายน้ำไม่เป็น และกลัวน้ำ ยืนยันให้ดำเนินคดีถึงที่สุดนั้น จากประเด็นดังกล่าว ทำให้สังคมเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความจำเป็นในการเข้าค่าย หรือการเรียนวิชาลูกเสือ ซึ่งเกิดคำถามขึ้นตามมาว่า วิชาลูกเสือ ยังจำเป็นอยู่ไหมในยุคปัจจุบัน 
 
'ถกไม่เถียง' วันนี้ (22 มี.ค. 64 ) จึงหยิบยกประเด็นนี้มาพูดคุยกัน พร้อมแขกรับเชิญ เปิ้ล นาคร ศิลาชัย ดารานักแสดง ในฐานะผู้ปกครอง และ ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ที่ปรึกษากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
 
ถกไม่เถียง : ผู้ปกครอง VS นักวิชาการ มองต่างมุม
 
โดย เปิ้ล นาคร เล่าถึงประสบการณ์การเรียนลูกเสือว่าที่เคยเรียนมาทั้งหมด ลืมไปหมดแล้ว เพราะไม่ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การผูกเงื่อน ปัจจุบันนี้ก็ไม่ได้ใช้ อย่างผูกเงื่อนเจ็ทสกี ก็ให้ช่างผูกให้ สำหรับข่าวที่เด็กโดนครูลงโทษเพราะรวมแถวช้านั้น ในฐานะพ่อรู้สึกหดหู่มาก กับข่าวที่เด็กโดนทำโทษ อย่างลูกผม ผมก็ทำโทษเหมือนกัน แต่ที่ต่างกันคือการทำโทษลูกด้วยอารมณ์ ห้ามใช้อารมณ์เด็ดขาด อย่างข่าวที่ครูทำโทษเด็กที่ออกมา ผมว่าทำด้วยอารมณ์ล้วนๆ ไม่ใช่ด้วยความรัก ผมไม่รู้ว่ามีการพัฒนาของครูสอนลูกเสือมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีการอบรมการสอนว่ายน้ำ การผจญเพลิง แบบหลักสากล แบบมืออาชีพ จะดีกว่า แต่ถ้าเกิดครูไม่เคยได้รับการอบรมแล้วมาสอนอย่าเลยดีกว่า
 
ถกไม่เถียง : ผู้ปกครอง VS นักวิชาการ มองต่างมุม
 
เปิ้ล นาคร มองว่า วิชาลูกเสือยังมีข้อเสียคือ สอนให้เด็กบ้ายศ บ้าอำนาจ อยากได้บั้ง ได้ยศ ยกตัวอย่างสมัยตัวเอง ที่ต้องพยายามให้ตัวเองได้บั้งมาติดประดับ ในสมัยเรา เราได้เจอความยากลำบากในระบบการศึกษามาแล้ว เราก็อยากจะให้ลูกได้เจอกับสิ่งที่ดีที่สุด ปัจจุบันมีหน่วยงานที่เปิดอบรมการเอาตัวรอดมากมาย เด็กๆ จะได้เรียนรู้วิธีการเอาตัวรอด และครูฝึกมาจากเจ้าหน้าที่จริงๆ มันทำให้เด็กได้เรียนรู้จากครูที่รู้จริง ดังนั้น การเอาครูสอนวิชาตามปกติ อย่างวิชา ภาษาไทย วิชาคณิตศาสตร์ ไปอบรมมา 1 เดือน แล้วให้มาสอนเด็กในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ใกล้น้ำ ใกล้ไฟ มันไม่ใช่เรื่องสมควร แต่สิ่งหนึ่งที่ลูกเสือไทยพัฒนาคือเพลง เมาคลีล่าสัตว์ นี่คือมรดกของวิชาลูกเสือที่ยังเหลืออยู่
 
ถกไม่เถียง : ผู้ปกครอง VS นักวิชาการ มองต่างมุม
 
สุดท้าย เปิ้ล นาคร ยังยืนยันว่า วิชาลูกเสือ ควรยกเลิก แล้วคิดใหม่ให้ดีกว่าเดิม ถ้ายังไม่มีการปรับปรุง ยังเหมือนเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ผมรื้อหมดเลย ควรจะปรับปรุง เอาคนที่เก่งๆ หรือตัวจริงมาสอน เพราะ เด็กคือสิ่งมีชีวิตที่สำคัญที่สุดในโลก เพราะฉะนั้นก็ควรเอาคนที่เก่งที่สุด มาสอนคนที่สำคัญที่สุดของคุณ
 
ถกไม่เถียง : ผู้ปกครอง VS นักวิชาการ มองต่างมุม
 
ด้าน ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ ที่ปรึกษากองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) มาร่วมถกเรื่องวิชาลูกเสือ ว่า ถ้าถามเด็ก เด็กส่วนใหญ่เห็นว่าควรยกเลิกวิชาลูกเสือ เพราะเห็นว่าวิชาลูกเสือมันบังคับมากเกินไป และนำมาใช้ในชีวิตประจำวันไม่ได้ แต่สำหรับตัวของ ศ.ดร.สมพงษ์ มองว่าวิชาลูกเสือยังควรจะมีอยู่ เพราะแทบจะเป็นวิชาเดียวที่ออกนอกห้องเรียน ได้ผจญภัย ได้ใช้ชีวิตกลางแจ้ง ลงมือทำจริง แต่ต้องมีการพัฒนาหลักสูตรและทักษะ ซึ่งเป้าหมายของการเรียนวิชาลูกเสือคือการเป็นอาสาสมัคร ได้ช่วยเหลือผู้อื่น ไม่เน้นเรื่องการแต่งกาย เนื่องจาก 15% ของประชากรไทยที่ยากจน พอมีเรื่องค่าใช้จ่ายชุดลูกเสือเข้าไป มันก็เพิ่มมากขึ้น ควรเปลี่ยน เพราะเจตนารมย์ของลูกเสือ ไม่ได้อยู่ที่เครื่องแบบ แต่อยู่ที่การฝึกวินัย จริยธรรม การดูแลตัวเอง หลักสูตรลูกเสือปัจจุบันยังเน้นเนื้อหา ฉะนั้นควรจะต้องปรับเปลี่ยนตรงนี้ และควรเปลี่ยนเป็นวิชาเลือก และที่สำคัญคือความปลอดภัยที่ต้องคู่ขนานกันไป 
 
ถกไม่เถียง : ผู้ปกครอง VS นักวิชาการ มองต่างมุม
 
ถกไม่เถียง : ผู้ปกครอง VS นักวิชาการ มองต่างมุม
 
ศ.ดร.สมพงษ์  กล่าวว่า เคยมีแนวความคิดว่าจะผลิตครูสาขาวิชาเอกลูกเสือ และ วิชาลูกเสือเริ่มเบี่ยงเบนไป เรื่องข่าวคราวทุจริตคอร์รัปชั่นก็มีส่วน ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงบูรณาการให้ดีขึ้น ผมก็เห็นด้วยกับการยกเลิก ในโลกของการศึกษา เรื่องงบประมาณมันเป็นปัญหา งบประมาณถูกจัดสรรไปส่วนอื่น ไม่ได้ถูกทุ่มลงมาให้กับเด็กมากเท่าที่ควร เด็กส่วนใหญ่ไม่ชอบวิชาลูกเสือ เพราะถูกบังคับให้เรียน การที่จะให้เด็กพัฒนาตัวเองได้ ต้องให้เด็กสามารถคิดนอกกรอบได้ สุดท้าย ถ้าจะยกเลิกมันต้องมีเหตุผล ยังมีคนที่เห็นคุณค่าของมันอยู่ แต่ถ้าปล่อยให้เป็นเหมือนเดิมมาหลายสิบปี ก็ควรยกเลิก
 
ถกไม่เถียง : ผู้ปกครอง VS นักวิชาการ มองต่างมุม
 
สรุปผลโพล คุณคิดว่า “วิชาลูกเสือ” ควรยกเลิกหรือไม่?
 
ทั้งนี้ รายการ ถกไม่เถียง ยังเปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมแสดงความคิดเห็น รับสิทธิพิเศษจากผู้สนับสนุนและพันธมิตรได้ทุกตอนผ่าน TERO Digital ได้ที่
 
ติดตาม  รายการ “ถกไม่เถียง” ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ”  ภายใต้การผลิตของบริษัท เทโร เอ็นเทอร์เทนเม้นท์  ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และสามารถรับฟังผ่านทาง  hitz955.com