'TikTok' ผุดฟีเจอร์ใหม่ ป้องกันเด็ก-เยาวชนถูกคุกคาม จากโลกออนไลน์  หลังพบผู้ใช้งานอายุน้อยเพิ่มขึ้น
logo ทางลัดดิจิทัล

'TikTok' ผุดฟีเจอร์ใหม่ ป้องกันเด็ก-เยาวชนถูกคุกคาม จากโลกออนไลน์ หลังพบผู้ใช้งานอายุน้อยเพิ่มขึ้น

ทางลัดดิจิทัล : TikTok ถือเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นมาแรงแห่งยุค ที่ทุกเพศทุกวัยต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งในประเทศไทย ประกอบด้วย 3 กลุ่มอายุ TikTok,เด็ก,เยาวชน,คุกคาม,โลกออนไลน์,DigitalShortcut,ทางลัดดิจิทัล,ไอที,เทคโนโลยี,ข่าว,โซอี้,ภญ.โสภา พิมพ์สิริพานิชย์

926 ครั้ง
|
14 ม.ค. 2564
'TikTok'  ถือเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นมาแรงแห่งยุค ที่ทุกเพศทุกวัยต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งในประเทศไทย ประกอบด้วย 3 กลุ่มอายุ คือ อายุ 13-15 ปี สัดส่วนประมาณ 20% กลุ่มอายุ 16-34 ปี ประมาณ 60% และกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปราว 20% ซึ่งกลุ่มผู้ใช้ TikTok มากกว่า 80% ก็เป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และคนวัยทำงาน 
 
ข้อมูลจากข้อมูลศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนส่งเสริม และปกป้องคุ้มครองเด็ก และเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ (COPAT) พบว่า เด็กไทยต้องเผชิญกับภัยออนไลน์เพิ่มมากขึ้น โดยกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อายุ 12-18 ปี ว่า เชื่อว่าโลกออนไลน์มีภัยและความเสี่ยง 89% ถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ด้วยถ้อยคำหยาบคาย 69% และเคยนัดพบเพื่อนออนไลน์ 29%
 
ทาง TikTok จึงได้กำหนดบัญชีผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีให้มีสถานะเป็นส่วนตัว โดยผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีเมื่อเปิดแอคเคาน์บน TikTok แล้ว จะถูกตั้งค่าเป็นส่วนตัวโดยอัตโนมัติ ซึ่งหมายความว่าจะมีเพียงผู้ที่เจ้าของบัญชีอนุมัติเท่านั้นที่จะสามารถติดตามและดูเนื้อหาของพวกเขาได้ รวมถึงวิดีโอที่สร้างโดยผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีจะไม่สามารถดาวน์โหลดโดยผู้อื่นได้, การแสดงความคิดเห็นบนวิดีโอของผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี จะสามารถตั้งค่าโดยกำหนดให้ "เพื่อน"ที่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ หรือเลือก "ปิดรับความคิดเห็น" และผู้ใช้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี จะไม่สามารถใช้ Duet และ Stitch ได้ 
 
นอกจากนี้ ยังได้พัฒนามาตรฐานความปลอดภัย ด้วยการออกฟีเจอร์ใหม่ที่ช่วยให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง สามารถดูแลการใช้แพลตฟอร์มของเด็กๆ ได้อย่างปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ 
 
“Screen Time Management” จำกัดการใช้งานสูงสุด 120 นาทีต่อวัน  “Restricted Mode” จำกัดการแสดงเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม  
“Direct Message” ปิดการรับส่งข้อความเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากคนแปลกหน้า 
“การตั้งค่าค้นหา” ทั้งเนื้อหา ผู้ใช้งาน แฮชแท็ก และเสียง 
“ความคิดเห็น” ตั้งค่าเลือกบุคคลที่ผู้ใช้งานต้องการให้แสดงความคิดเห็น หรือปิดการแสดงความคิดเห็น 
“การค้นหาและดูเนื้อหาในบัญชี” ผ่านการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของบัญชี
“วิดิโอที่ชื่นชอบ” กำหนดผู้ที่จะเข้าถึงวิดีโอที่ผู้ใช้งานกดไลก์ได้ตามต้องการ
 
ชมผ่าน YouTube ได้ที่  https://youtu.be/MnSu_rhiT0s

ข่าวที่เกี่ยวข้อง