สรุปให้ชัดๆ คนละครึ่งเฟส 2 เพิ่มวงเงิน 3,500 บาท ลงทะเบียนเมื่อไหร่?
logo รอดไปด้วยกัน เศรษฐกิจชาวบ้าน

สรุปให้ชัดๆ คนละครึ่งเฟส 2 เพิ่มวงเงิน 3,500 บาท ลงทะเบียนเมื่อไหร่?

รอดไปด้วยกัน เศรษฐกิจชาวบ้าน : ในที่ประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากโควิด-19 ( ศบศ) จะมีการประชุมในเวลา 1400 น โดยมีวาระสำคัญคือ จะมีการหาร คนละครึ่ง,คนละครึ่งเฟส2,เฟส2,ลงทะเบียนคนละครึ่ง,รอด,รอดไปด้วยกัน,ทิน,รอดไปด้วยกันเศรษฐกิจชาวบ้าน,รอดไปด้วยกันกับทิน,ทินโชคกมลกิจ,ข่าวเศรษฐกิจ,คนละครึ่งเฟส2ได้เท่าไหร่

20,193 ครั้ง
|
03 ธ.ค. 2563
ในที่ประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากโควิด-19 ( ศบศ.) จะมีการประชุมในเวลา 14.00 น. โดยมีวาระสำคัญคือ จะมีการหารือในเรื่อง การให้สิทธิกับประชาชนผู้ลงทะเบียนคนละครึ่งเฟส 2 เพิ่มเติมและการขยายโครงการให้กับประชาชนที่ลงทะเบียนใน เฟส 1 ไว้
 
 
ล่าสุด น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ เผยว่าที่ประชุม ศบศ. มีมติเห็นชอบให้ต่อเฟส 2 โครงการคนละครึ่ง
 
 
โดยคนที่เข้าโครงการแล้ว จำนวน 10 ล้านคน จะได้เพิ่มอีกคนละ 500 บาท และขยายการใช้จ่ายไปจนถึงมี.ค. 2564 ส่วนผู้ที่จะลงทะเบียนใหม่ จะได้เพิ่ม 5 ล้านคน เริ่มลงทะเบียนวันที่ 16 ธ.ค. โดยจะได้ยอดเงินใช้จ่ายรายละ 3,500 บาท
 
 
เม็ดเงินสะพัดแถมกระแสตอบรับดีขนาดนี้ แน่นอนว่าจะต้องมีคนหัวใสฉวยโอกาสสร้างกลโกงยักบอกเงินอย่างแน่นอน ซึ่งก็มีข่าวออกมาให้เห็นกันอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งวันนี้รายการรอดไปด้วยกันของเราจะรวมเรื่องราวกลโกงของเหล่าพ่อค้าแม่ค้าหัวใสมาเล่าให้ฟัง
 
 
อย่างกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ข้อความระบุว่า ที่ร้านอาหารร้านหนึ่ง ลงบิลไม่ตรงกับราคาในเมนู อาทิ ตำโคราช 70 บาท แต่ลงในบิล 100 บาท ตำไก่ยอ 60 บาท ลงในบิล 80 บาท โดยลูกค้าคนดังกล่าวใช้โครงการคนละครึ่ง ซึ่งเป็นกลลวงที่แม้ว่าเราจะจ่ายถูกลงกว่าราคาอยู่แล้ว แต่จริงๆ แล้วเป็นกลลวงที่แม่ค้างัดมาใช้เพื่อที่จะได้เงินเพิ่มขึ้น ดังนั้นจะต้องตรวจสอบบิลใบเสร็จทุกครั้ง
 
 
นอกจากนี้ยังมีกรณี ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งโพสต์เตือน หลังไปใช้สิทธิ์โครงการคนละครึ่งที่ร้านค้าแห่งหนึ่ง แล้วภายหลังกลับมาตรวจดูของที่ซื้อมาพบว่าหมดอายุ โดยแฟนสาวของผู้โพสต์เล่าว่าวันนั้นตนเดินทางไปหาแม่
 
 
เห็นร้านขึ้นป้ายว่าเข้าร่วมโครงการจึงได้เข้าไปใช้สิทธิ์ตามปกติ ระหว่างที่นำสิ่งของมาที่โต๊ะคิดเงิน เจ้าของร้านได้เชิญชวนให้ซื้อของชิ้นดังกล่าว ซึ่งเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วย ตอนแรกตนเองเข้าใจคิดว่าแฟนหยิบมา หรือไม่ยอดเงินอาจจะยังไม่ครบตามสิทธิ์ จึงได้ตัดสินใจซื้อมา ภายหลังเมื่อขึ้นรถออกมาแล้วจึงสังเกตเห็นว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วยมีสีซีดผิดปกติ พอมาตรวจดูกลับพบว่า ด้านล่างถ้วยระบุวันที่ควรบริโภคคือเมื่อ 3 เดือนที่แล้ว
 
 
แต่เนื่องจากร้านค้าอยู่ห่างจากบ้านไปประมาณ 10 กิโลเมตร จึงไม่อยากเสียเวลาที่จะย้อนกลับเอาไปเปลี่ยนหรือคืน อีกทั้งไม่มั่นใจว่าหากนำไปคืนจะได้หรือไม่ ทางแฟนจึงได้นำไปโพสต์ ยืนยันว่าไม่ได้ติดใจกับทางร้านค้า ยอมรับว่าส่วนหนึ่งก็เป็นความผิดของตนเองที่ไม่ยอมตรวจสอบดูให้ดีก่อน
 
 
แต่ทั้งนี้ก็ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดทางร้านถึงปล่อยให้สินค้าที่ไม่ควรต่อการบริโภคเป็นระยะเวลานานให้ยังคงวางขายอยู่ ถ้าเป็นบางคนที่อาจไม่รู้ หรือเผลอทานเข้าไปแล้วก็เหมือนกับต้องเสียเงินไปเปล่าๆ ซึ่งสำหรับบางคนเงินส่วนนี้อาจจะมีความจำเป็นก็ได้
 
 
ปิดท้ายกันด้วยเหตุการณ์ล่าสุด ที่เพิ่งเกิดกันแบบสดๆ ร้อนๆ อย่างที่จังหวัดอุบลราชธานี มีคลิปลูกค้าซื้อจุ๊เนื้อสด (ซาซิมิภาคอีสาน มีลักษณะเป็นเนื้อดิบ หั่นชิ้นบางๆ พอดีคำ จิ้มกับน้ำจิ้มแจ่ว กินกันแบบสดๆ)
 
 
โดยร้านตั้งอยู่ที่ถนนคนเดินเทศบาลนครอุบลราชธานี ได้เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ขายในราคา 100 บาทเมื่อลูกค้าสแกนก็ต้องจ่าย 50 บาทตามหลักของโครงการ แต่ทางแม่ค้าได้คิดราคา 110 บาท
 
 
โดยอ้างว่าขอบวกเพิ่ม 10 บาท เพราะเป็นค่าอินเตอร์เน็ตเดือนละ 400 บาท จึงสร้างความงงและประหลาดใจให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ จึงอัดคลิปโพสต์ในโซเชียล
 
 
ขณะที่  นางสาวอรนภา อายุ 20 ปี นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี เปิดเผยว่า หลังจากที่ทำเสร็จได้ตกลงกับแม่ค้าเพื่อจะจ่ายค่าสินค้าเป็นเงินในโครงการคนละครึ่ง จำนวน 100 บาท ตามป้ายหน้าร้าน แต่เมื่อแม่ค้าให้สแกน กลับคิดเงิน 110 บาท ซึ่งเกินจากราคาป้าย ตนจึงได้กลับเข้าไปถามก็ได้คำตอบว่าหากลูกค้าจ่ายในโครงการคนละครึ่งต้องบวกเพิ่ม 10 บาท เนื่องจากแม่ค้าต้องจ่ายค่าเน็ตเดือน 400 บาท เมื่อจะขอเงินคืน แล้วจ่ายเป็นเงินสดแทน ก็ไม่ยอม แม่ค้าบอกว่ามีค่าเท่ากัน
 
 
ทางด้าน นางเอ (นามสมมติ) อายุ 46 ปี เจ้าของร้านที่เป็นข่าว บอกว่า ปกติขายอยู่ที่บ้าน ตนเพิ่งได้พื้นที่ขายที่ถนนคนเดินเทศบาลนครอุบลราชธานีสัปดาห์แรก และเพิ่งสมัครโครงการคนละครึ่งเพื่อรับเงินจากลูกค้า ยังไม่ถนัดกับเทคโนโลยี และยังงงๆ อยู่ ที่บวกเพิ่มและบอกไปว่าเป็นค่าอินเทอร์เน็ตเป็นความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อยากจะขอโทษน้องที่โพสต์คลิป จริงๆ ตั้งใจจะขึ้นราคาอาหาร แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนป้าย วันเกิดเหตุตนใช้แอปคนละครึ่งเป็นครั้งแรก ตนไม่ได้บวกเพิ่มทุกคน และได้บอกก่อนจะบวกเพิ่ม บางคนก็ 5 บาท บางคนก็ 10 บาท
 
 
ล่าสุด  นายชาญยุทธ วันดี พาณิชย์จังหวัดอุบลราชธานี และ น.ส.ปานจิตต์ ตะเพียนทอง คลังจังหวัด นำตัว แม่ค้าขายจุ๊เนื้อคนดังกล่าว มาให้ทำการเปรียบเทียบปรับ ฐานฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ กรณีเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งผู้จำหน่าย จะต้องแสดงค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนและครบถ้วน ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 ซึ่งมีอัตราโทษปรับสูงสุด 10,000 บาท
 
 
แต่กรณีของ นางเอ เป็นหาบเร่แผงลอย จึงเสนอปรับเพียง 1,000 บาท ซึ่ง นางเอ ก็ยินยอม พร้อมได้กล่าวขอโทษต่อกรณีที่เกิดขึ้นอีกครั้ง เพราะหลังเกิดเรื่องทำให้ นางเอ เกิดความเครียดและนอนไม่หลับตลอดทั้งคืน
 
 
ขณะที่ น.ส.ปานจิตต์ ตะเพียนทอง คลังจังหวัด กล่าวถึงการเสนอถอดรายชื่อ นางเอ ออกจากการร่วมโครงการจ่ายคนละครึ่ง ซึ่งเจ้าตัวก็ยินยอมออกจากโครงการ และจะได้ส่งเรื่องให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง เพิกถอนสิทธิออกจากโครงการนี้
 
 
อย่างไรก็ดี คุณสามารถแจ้งเบาะแสการกระทำผิด ร้านค้าคนละครึ่ง ที่ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า โดย
ส่งข้อมูลไปได้ที่ halfhalf@fpo.go.th
เบอร์โทร. 02-273-9020 ต่อ 3697 3527 3548 3509
 
ชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/nqKGA8NmQmQ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง