โพลชี้ภาษาไทยเข้าขั้นวิกฤติ ยกไลน์-เฟซบุ๊กพบคำผิดมากสุด
logo ข่าวอัพเดท

โพลชี้ภาษาไทยเข้าขั้นวิกฤติ ยกไลน์-เฟซบุ๊กพบคำผิดมากสุด

ข่าวอัพเดท : กรุงเทพโพลล์เผยสำรวจพบปชช.ชี้ภาษาไทยในปัจจุบันเข้าขั้นวิกฤติ ยกไลน์-เฟซบุ๊กพบคำผิดมากสุด กรุงเทพโพลล์ เผยผลสำรวจความคิดเ โพล,กรุงเทพโพลล์,คำผิด,ภาษาไทย,ไลน์,เฟซบุ๊ก,วิกฤติ

5,354 ครั้ง
|
29 ก.ค. 2557

กรุงเทพโพลล์เผยสำรวจพบปชช.ชี้ภาษาไทยในปัจจุบันเข้าขั้นวิกฤติ  ยกไลน์-เฟซบุ๊กพบคำผิดมากสุด

 

 

กรุงเทพโพลล์ เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ภาษาไทยบนสังคมออนไลน์ของคนรุ่นใหม่” เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 29 ก.ค. จากกลุ่มตัวอย่างเป็นคนรุ่นใหม่ อายุ 15-35 ปี ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,218 คน พบว่า

 

ร้อยละ 55.7 ไม่ทราบว่าวันที่ 29 ก.ค. ที่จะถึงนี้ เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

ร้อยละ 44.3 บอกว่าทราบ

 

 

เมื่อถามถึงความเห็นต่อการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันว่าถึงขั้นวิกฤติและควรมีการรณรงค์อย่างจริงจังหรือไม่ พบว่า

ร้อยละ 84.7 เห็นว่าการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันเข้าขั้นวิกฤติและควรช่วยรณรงค์อย่างจริงจัง

ร้อยละ 15.3 เท่านั้นที่เห็นว่าปัจจุบันไม่ได้อยู่ในขั้นวิกฤติจึงไม่จำเป็นต้องมีการรณรงค์

 

 

เมื่อถามถึงผู้ที่มีอิทธิพลต่อการใช้ภาษาไทยในปัจจุบันมากที่สุด พบว่า

ร้อยละ 36.0 ระบุว่า ดารา/นักร้อง

ร้อยละ 33.3 ระบุว่า สื่อมวลชน/นักข่าว และ

ร้อยละ 19.2 ระบุว่า ครู/อาจารย์

 

 

 

เมื่อถามถึงแหล่งที่พบเห็นการใช้ภาษาไทยที่สะกด /ออกเสียงผิดเพี้ยนไป หรือคำแปลกๆ บ่อยที่สุด พบว่า

ร้อยละ 77.4 ระบุว่าเห็นจากการคุยไลน์และการเขียนคอมเมนต์ผ่าน facebook

ร้อยละ 15.8 ระบุว่าเห็นจากการพูดคุยตามๆ กันในหมู่เพื่อนๆ

ร้อยละ 6.8 ระบุว่าเห็นจากพิธีกร ตัวละครในทีวี/ภาพยนตร์

 

 

 

เมื่อถามถึงเหตุผลที่คนมักนิยมใช้ภาษาไทยในการพูด เขียน ผิดเพี้ยน ในสังคมออนไลน์ พบว่า

ร้อยละ 38.8 ระบุว่าใช้ตามๆ กันจะได้เกาะกระแส

ร้อยละ 32.4 ระบุว่าสะกดง่าย สั้น และสื่อสารได้เร็ว

ร้อยละ 26.9 ระบุว่าเป็นคำที่ใช้แล้วรู้สึก ขำ คลายเครียดได้

 

 

 

เมื่อถามถึงความรู้สึกที่เห็นการพูดหยาบคายของตัวละครทีวี/ภาพยนตร์ หรือการโพสต์ ข้อความหยาบคายผ่านสังคมออนไลน์ พบว่า

ร้อยละ 65.9 ระบุว่ารับได้แต่บางครั้งก็มากเกินไป

ร้อยละ 25.6 ระบุว่ารับได้/ไม่ซีเรียส

ร้อยละ 8.5 ระบุว่ารับไม่ได้เลย

 

 

 

เมื่อถามความเห็นถึงการให้สื่อมวลชน นักร้อง นักแสดง หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง มาร่วมรณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง จะสามารถสร้างจิตสำนึกให้เกิดความนิยมใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องได้หรือไม่ พบว่า

ร้อยละ 55.0 เชื่อว่าทำได้

ร้อยละ 14.0 เชื่อว่าไม่ได้

ร้อยละ 31.0 ไม่แน่ใจ