สอนวิธีตรวจสอบสถานะโอนเงิน ‘ประกันรายได้เกษตรกร’ คุณได้เท่าไหร่?
logo รอดไปด้วยกัน เศรษฐกิจชาวบ้าน

สอนวิธีตรวจสอบสถานะโอนเงิน ‘ประกันรายได้เกษตรกร’ คุณได้เท่าไหร่?

รอดไปด้วยกัน เศรษฐกิจชาวบ้าน : มาต่อกันที่เรื่องของโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว หรือ ประกันราคาข้าว ปี 2563 64 รอบที่ 1 ที่ธนาคารเพื่อกา รอดไปด้วยกันเศรษฐกิจชาวบ้าน,ทิน โชคกมลกิจ,รอดไปด้วยกัน,ข่าวเศรษฐกิจ,รอดไปด้วยกันกับทิน,ประกันรายได้,เกษตรกร,ประกันรายได้เกษตรกร,ธกส,ประกันราคาข้าว,ธนาคาร,ข้าว,ชาวนา

27,821 ครั้ง
|
19 พ.ย. 2563
เรื่องของโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว หรือ ประกันราคาข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กำลังทยอยจ่ายเงินชดเชยส่วนต่าง งวดแรก ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ตั้งแต่เมื่อวันที่ 16 พ.ย.2563
 
โดย ข้าวแต่ละชนิด จะได้รับเงินส่วนต่างสูงสุด ดังนี้ (ประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงครั้งแรก วันที่ 9 พ.ย.)
 
1. ข้าวเปลือกหอมมะลิ ประกันรายได้ตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ได้ส่วนต่างตันละ 2,911.17 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 40,756 บาท
 
2. ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ประกันรายได้ตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ส่วนต่างตันละ 2,137.45 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 34,199 บาท
 
3. ข้าวเปลือกเจ้า ประกันรายได้ตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน ส่วนต่างตันละ 1,222.36 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุด 36,670 บาท
 
4. ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ประกันรายได้ตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน ส่วนต่างตันละ 1,066.96 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุดถึง 26,674 บาท
 
5. ข้าวเปลือกเหนียว ประกันรายได้ตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ส่วนต่างตันละ 2,084.34 บาท รับเงินส่วนต่างสูงสุด 33,349 บาท
 
สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันรายได้ เกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และต้องแจ้งวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยว เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วงเวลาที่เกษตรกรจะได้รับสิทธิชดเชย
 
โดยกรมส่งเสริมการเกษตร จัดส่งข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำแนกตามช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยว และคำนวณปริมาณผลผลิต โดยใช้พื้นที่ทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวแต่ละชนิด คูณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ เป็นปริมาณผลผลิตที่ต้องชดเชย แต่ต้องไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ ส่งให้ ธ.ก.ส. เพื่อเป็นข้อมูลในการจ่ายเงิน
 
จากนั้น ธ.ก.ส. จะดำเนินการจ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ภายใน 3 วัน นับจากวันที่ได้รับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง ในแต่ละรอบจากคณะอนุกรรมการฯ โดยเกษตรกร สามารถเช็กว่าได้รับเงินประกันราคาข้าวแล้วหรือยัง ดังนี้
 
- เช็กที่เว็บไซต์ https://chongkho.inbaac.com/ โดยกรอกเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ถ้าเงินเข้าระบบจะแจ้งโอนเรียบร้อย
 
- เช็กทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
 
- มีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชี ผ่าน LINE Official : BAAC Family @baacfamily กรณีที่สมัครใช้บริการ BAAC Connect
 
- เช็กจากบัตร ATM
 
- ปรับสมุดเงินฝากที่ธนาคาร
 
ทั้งนี้ โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 ดำเนินไปเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว และป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว โดยกลไกตลาดยังคงทำงานเป็นปกติ ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณ 18,096 ล้านบาท มีจำนวนเกษตรกรที่จะได้รับประโยชน์กว่า 4.04 ล้านราย
 
นอกจากนี้ ล่าสุด มีการประกาศการกำหนดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง และการชดเชยส่วนต่างราคาข้าวที่รัฐบาลจะจ่ายให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 (งวดที่ 2) ออกมาแล้ว ได้แก่
  
ขณะที่ การชดเชยส่วนต่าง ระหว่างราคาประกันรายได้กับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง มีอัตราส่วนต่างที่ ธ.ก.ส. ใช้ในการจ่ายให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว สำหรับการจ่ายเงินงวดที่ 2 ดังนี้
 
1. ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 2,996.97 บาท (ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน)
 
2. ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 2,272.96 บาท (ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน)
 
3. ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 1,119.18 บาท (ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน)
 
4. ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 1,060.16 บาท (ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน)
 
5. ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 1,311.01 บาท (ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน)
 
 
 
รับชมผ่านยูทูบ : https://youtu.be/pkv1FyccSX0

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง