“ประยุทธ์ออกไป” คือ ข้อเรียกร้องและเสียงตะโกนอันกึกก้องของ “ม็อบราษฎร” ที่ดังกึกก้องทั่วท้องถนน ทั้งในกรุงเทพฯและหัวเมืองทั่วประเทศ
โดย “ประยุทธ์ออกไป” เป็น 1 ใน 3 ข้อเรียกร้อง ที่ผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล เสนอจุดยืน พ่วงไปกับการให้รัฐบาลเปิดสภาสมัยวิสามัญ เพื่อพิจารณาวาระแก้ไขรัฐธรรมนูญ และปฏิรูปสถาบัน
ล่าสุด รัฐบาลตัดสินใจลดอุณหภูมิทางการเมือง โดยให้เปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ เพื่อร่วมกันหาทางออกประเทศ ในวันที่ 26-27 ต.ค.
หากไปดูท่าทีของ พล.อ.ประยุทธ์ ต่อข้อเรียกร้องให้ลาออกนั้น พบว่าได้รับการปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง แถมยังตั้งคำถามกลับมาว่า "ผมผิดอะไร"
หลายฝ่ายมองว่า นี่เป็นการตอกย้ำถึงท่าทีอันแข็งกร้าวจากฝ่ายผู้มีอำนาจ และยังมั่นใจว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นรัฐบาลควบคุมได้ แม้จะมีการจัดชุมนุมตามสถานที่สำคัญเป็นระยะๆ
ฉะนั้น ในช่วงที่การเมืองคลุมเครือ ไม่แน่ชัดว่าทิศทางของประเทศภายใต้รัฐบาลประยุทธ์จะเป็นเช่นไร, ทางออกของเรื่องนี้จะเป็นเช่นไร, ถ้านายกฯ ลาออก ทิศทางการเมืองและเศรษฐจะดีขึ้นหรือไม่ และถ้าไม่ลาออกจะเป็นเช่นไร พูดคุยกับ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง
+ อ่านเพิ่มเติม