รู้จัก 'Telegram' อาวุธไซเบอร์ประจำม็อบ ส่งไว เจาะยาก แม้แต่รัสเซียยังปิดไม่ได้!
logo รอดไปด้วยกัน เศรษฐกิจชาวบ้าน

รู้จัก 'Telegram' อาวุธไซเบอร์ประจำม็อบ ส่งไว เจาะยาก แม้แต่รัสเซียยังปิดไม่ได้!

รอดไปด้วยกัน เศรษฐกิจชาวบ้าน : หลังจากเพจเฟซบุ๊ก เยาวชนปลดแอก-Free YOUTH โพสต์ข้อความว่า ด่วน! เราได้รับข่าวมาว่า DE อาจกำลังขอให้ FB ปิดเพจเยาวช รอดไปด้วยกันเศรษฐกิจชาวบ้าน,ทิน โชคกมลกิจ,รอดไปด้วยกัน,ข่าวเศรษฐกิจ,Telegram,เเลแกรม,ชุมนุม,ม็อบ,แบน

1,600 ครั้ง
|
20 ต.ค. 2563
หลังจากเพจเฟซบุ๊ก เยาวชนปลดแอก-Free YOUTH โพสต์ข้อความว่า ด่วน! เราได้รับข่าวมาว่า DE อาจกำลังขอให้ FB ปิดเพจเยาวชนปลดแอก- FreeYOUTH" และแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม จึงขอให้ทุกคนโปรดเข้าร่วม Telegram นี้ จากเยาวชนปลดแอก เพื่อสำรองการติดต่อสื่อสาร หากเพจถูกปิดดังข่าวที่ได้รับมา
 
จนทำให้หลายคนเกิดคำถามว่า Telegram คืออะไร? ทีมงานของเราหาคำตอบมาให้ กระทั่งได้พบว่า Telegram เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นมานานแล้ว โดยเริ่มปล่อยดาวน์โหลดครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 2013 จากวันนี้ก็เป็นเวลา 7 ปีกว่าที่แอปพลิเคชันนี้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ
 
ทั้งนี้ Telegram ก่อตั้งโดยทีมนักพัฒนา 3 คน ได้แก่ พาเวล ดูรอฟ, นิโคไล ดูรอฟ และอักเซล เนฟฟ์ โดยที่ พาเวล ดูรอฟ รับหน้าที่เป็นซีอีโอ จุดมุ่งหมายของแอปพลิเคชัน Telegram โดยหลักแล้วมีเพียงข้อเดียว นั่นคือ พวกเขาต้องการพัฒนาแอปพลิเคชันที่แม้แต่สายลับรัสเซียไม่สามารถ “แฮก” ได้
 
จุดเด่นของแอปพลิเคชันนี้ คือต้องการที่จะให้ผู้ใช้งานนั้น เป็นเจ้าของข้อมูลอย่างแท้จริง ไม่มีโฆษณา(ผู้ก่อตั้งจะไปหานักลงทุนที่สนใจเพื่อให้การสนับสนุนด้วยตัวเอง) ไม่มีการแอบอ่านข้อความ ไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนตัว และทำงานได้เร็วมากๆ เร็วกว่า Line หรือ Facebook Messenger 
 
ตลอด 7 ปีที่ผ่านมาแอปพลิเคชัน Telegram เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่นักเคลื่อนไหวทางการเมืองหยิบมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อต่อต้านรัฐบาล ทั้งในฮ่องกงและเบลารุส โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้มีการส่งข้อความแบบเข้ารหัส พร้อมกับใช้ VPN ในการกระจายข่าวสารและการจัดตั้งกลุ่มผู้ชุมนุม
 
ผู้ใช้งาน Telegram จะคล้ายกับการเริ่มต้นใช้งานแอปพลิเคชันแชท โดยทั่วไปคือจะต้องใส่หมายเลขโทรศัพท์ เพื่อรอโค้ดยืนยันตัวตนก่อนเปิดใช้บริการของ Telegram
 
ปัจจุบัน Telegram เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันที่มีผู้ใช้งานนิยมใช้มากที่สุดแอปหนึ่งของโลก โดยในเดือนเมษายน 2020 ที่ผ่านมา มีการประกาศว่า Telegram มียอดผู้ใช้งานต่อเดือนราว 400 ล้านคน และตั้งเป้าว่า ปี 2022 จะมีผู้ใช้งาน 1,000 ล้านคน
 
จากการตรวจสอบพบว่าในเวลาประมาณ 11.11 น. (19 ต.ค.63) กลุ่ม FreeYOUTH ใน Telegram มีผู้เข้าร่วมแล้ว 200,000 ราย 
 
อย่างไรก็ดี ทีมงานรอดไปด้วยกัน พยายามติดต่อสอบถามไปยังผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีหลายท่าน แต่ระบุว่า ของดแสดงความเห็นในประเด็นนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
 
ขณะที่ เมื่อวานนี้ มีภาพถ่ายหน้าเอกสารคำสั่งฉบับหนึ่งที่เชื่อกันว่าออกโดย ‘กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม’ กรณีการขอความร่วมมือให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือระงับการใช้แอปพลิเคชัน Telegram ในประเทศไทยได้ถูกเผยแพร่ออกไป ซึ่งทำให้แรงกระเพื่อมของสังคมที่มีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐในประเด็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพก็ดูจะยกระดับขึ้นไปอีกขั้น
 
ต่อมา(19 ต.ค.) นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช. ได้รับหนังสือจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขอให้ดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์แล้ว
 
ซึ่ง กสทช. ดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงที่ 11/2563 เรื่องระงับการให้แพร่หลาย หรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยล่าสุดอยู่ระหว่างการดำเนินงานตามขั้นตอน
 
ชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/1B2_KZ_nLMs

ข่าวที่เกี่ยวข้อง