บทเรียนเกรียนคีย์บอร์ด 'บูลลี่ดารา-เฟกนิวส์'  ใช้สื่อแบบคึกคะนอง โทษหนักแค่ไหน?
logo TERO HOT SCOOP

บทเรียนเกรียนคีย์บอร์ด 'บูลลี่ดารา-เฟกนิวส์' ใช้สื่อแบบคึกคะนอง โทษหนักแค่ไหน?

TERO HOT SCOOP : เรามักจะเริ่มได้ยินคำว่า พลเมืองดิจิทัล Digital Citizens กันมากขึ้น เพราะยุคแห่งโลกที่ไร้พรมแดน การใช้การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ดร.พันธ์ศักดิ์ จันทร์ปัญญา,พลเมืองดิจิทัล,พรบคอมพิวเตอร์,กสทช,สื่อดิจิทัล

6,900 ครั้ง
|
22 ก.ย. 2563

เรามักจะเริ่มได้ยินคำว่า 'พลเมืองดิจิทัล' (Digital Citizens) กันมากขึ้น เพราะยุคแห่งโลกที่ไร้พรมแดน การใช้การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งที่ประชาชนใช้กันมากที่สุด ดังนั้นเทคโนโลยีกับสิทธิและเสรีภาพจึงเป็นสิ่งที่ควบคู่กัน

TERO HOT SCOOP : พลเมืองดิจิทัล Digital Citizens
 

(อ่านข่าว : สัมภาษณ์ฉบับเต็ม 'แมท' ฟ้องมือโพสต์ด่า เมินคนโร่ขอโทษ "เสียใจด้วยนะคะ แต่มันเป็นราคาที่คุณต้องจ่าย" )

 

อย่างกรณีล่าสุดของนางเอกสาว แมท-ภิรนีย์ คงไทย ที่ได้ยื่นฟ้องผู้ใช้โซเชียลที่เข้ามาด่าด้วยถ้อยคำหยาบคายผ่านทางโซเชียลช่องทางต่างๆ ฐานหมิ่นประมาท ทั้งคดีอาญาและคดีทางแพ่ง เรียกร้องค่าเสียหายคดีละ 1 ล้านบาท เป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาที่เห็นได้ชัด ต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ใช้โซเชียลมีเดียอย่างไม่เหมาะสม จนเลยเถิดจนกระทบต่อชีวิตและคนรอบข้าง และกลายเป็นคดีความจากความคึกคะนองในโลกโซเชียล

TERO HOT SCOOP : พลเมืองดิจิทัล Digital Citizens

ดร.พันธ์ศักดิ์ จันทร์ปัญญา กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงกิจการโทรคมนาคม เจ้าของผลงานงานวิจัยเรื่องบทบาทและกระบวนการสื่อสารทางการเมืองของ กสทช. และมีงานเขียนบทความวิชาการด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล อาทิ เรื่องการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัล ผลประโยชน์อยู่ในมือใคร ซึ่ง ดร.พันธ์ศักดิ์ ได้ให้คำนิยามของ 'พลเมืองดิจิทัล' ไว้ว่า

 

"คนที่ใช้สื่อดิจิทัลจะต้องมีบรรทัดฐานที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยี" เนื่องด้วยเทคโนโลยีนำมาซึ่งประโยชน์และภัยคุกคามต่างๆ หากผู้ใช้ขาดความรู้ความเข้าใจที่ดีพอ ยกตัวอย่างเช่น ข่าวปลอม (Fake News) ส่งผลกระทบให้เกิดความเชื่อ การหลงผิดในรูปแบบต่างๆ

 

ดังนั้นในต่างประเทศจึงมีการตั้งศูนย์กรอง และตรวจสอบข้อมูลก่อนการเผยแพร่ เช่นเดียวกับประเทศไทยที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ให้ความสำคัญต่อการเฝ้าระวังข่าวปลอม หรือเว็บไซต์ปลอม มีความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสื่อมวลชน กสทช. เพื่อร่วมป้องกันความเสียหายที่จะเกิดต่อประชาชน

 

ในขณะที่ข่าวปลอมเป็นหนึ่งในการกระทำที่อาจจะเกิดจากเจตนาของผู้เสนอข่าว หรือเกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การขาดการตรวจสอบข้อมูล จึงทำให้มีการแชร์ไปอย่างแพร่หลาย มีผลกระทบในวงกว้าง ทั้งต่อบุคคล สถาบันต่างๆ ดังนั้นการรู้เท่าทันสื่อจึงเป็นเรื่องสำคัญ ต้องมีการคิดวิเคราะห์วิจารญาณที่ดี เพื่อให้สามารถแยกแยะข้อมูลที่ถูกต้อง เกิดการตรวจสอบข้อมูลก่อนการนำไปแชร์

 

ดร.พันธ์ศักดิ์ ระบุเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีการแสดงออกซึ่งแนวคิดอุดมคติต่างๆ ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียมากขึ้น บางครั้งพบมีการใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพบนสื่ออินเตอร์เน็ต การโพสต์ภาพที่ไม่เหมาะสม เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่พลเมืองดิจิทัลพึงตระหนักและให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อภัยความมั่นคงของประเทศ

 

การที่ประชาสังคม สื่อมวลชนทั้งส่วนกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เป็นองค์ประกอบหลักของการสร้างข้อมูลเพื่อการสื่อสาร จะต้องตรวจสอบคัดกรองข้อมูลและเนื้อหา หลีกเลี่ยงการสุ่มเสี่ยงของข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดการหมิ่นสถาบัน และดำเนินการตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น

 

พระราชบัญญัติ วิทยุคมนาคม 2498 มาตรา 16 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดส่ง หรือจัดให้ส่งข้อความใดๆ โดยวิทยุคมนาคม อันตนรู้อยู่ว่าเป็นเท็จหรือข้อความอื่นใดที่มิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติและประชาชน ต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือจำคุกไม่เกินป้าปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

 

นอกจากนี้ยังมี พระราชบัญญัติการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 หมวด 3 การส่งเสริมและควบคุมจริยธรรมแห่งวิชาชีพ และการคุ้มครองผู้เสียหายจากการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ รวมถึงมาตรา 56 บัญญัติว่า ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา

 

ดร.พันธ์ศักดิ์ กล่าวโดยสรุปว่า แม้ว่าเสรีภาพการแสดงออกจะได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่เสรีภาพนั้นจะต้องไม่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน รวมถึงรูปแบบการเสริมสร้างประชาธิปไตยในยุคดิจิทัลที่จะต้องใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม รักษากฎระเบียบต่างๆ เพื่อสร้างสมดุลแห่งการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง