ข่าวช็อกสะเทือนวงการบันเทิงสำหรับการจากไปอย่างไม่มีวันหวนกลับของ แชมป์ ศุภวัฒน์ พีรานนท์ เจ้าของบทเพลงชื่อดังอย่าง นอนน้อย ด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อช่วงเช้ามืดวันที่ 21 มิ.ย. 63 ท่ามกลางความโศกเศร้าของครอบครัว
ทีมข่าวช่อง 3 ออนไลน์ พาไปทำความรู้จัก "ภาวะหัวใจล้มเหลว" ภัยเงียบสุดอันตราย พบได้ทุกเพศ-วัย ไม่เว้นแม้แต่เด็กแรกเกิด พร้อมแนะนำวิธีสังเกตอาการอันเป็นสัญญาณเตือนหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ รีบไปพบแพทย์ด่วน!
โดยทีมข่าวได้พูดคุยกับ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เกี่ยวกับรายละเอียดของโรคดังกล่าว ซึ่งทีมข่าวจะไล่เรียงข้อมูลทางการแพทย์ให้คุณเข้าใจง่ายๆ ดังต่อไปนี้
นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวว่า “ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากปัจจัยที่สำคัญหลักๆ 3 อย่าง
- เส้นเลือดหัวใจตีบ
- ลิ้นหัวใจ
- กล้ามเนื้อหัวใจ
- เบาหวาน
- ความดัน
- คอเลสเตอรอลสูง
- โรคลิ้นหัวใจติดเชื้อ(รูมาติก)
- ไทรอยด์เป็นพิษ
- หัวใจเต้นเร็วผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
- โลหิตจางแบบรุุนแรง
- ผู้ที่เป็นเบาหวาน
- ผู้ป่วยความดัน
- ผู้ป่วยคอเลสเตอรอลสูง
- ผู้ป่วยโรคไต
- ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษอย่างรุนแรงแล้วไม่ได้รับการรักษา
- เจ็บหน้าอก คล้ายมีคนมาบีบหัวใจ
- ร้าวไปที่บริเวณไหล่ หรือรักแร้ด้านซ้าย
- หายใจไม่ออก
- หมดสติ
- หัวใจหยุดเต้น
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายผิดปกติ
- อึดอัด หายใจลำบาก เมื่อออกกำลังกาย
- ตื่นกลางดึกเพราะไอ หรือหายใจลำบาก
- ข้อเท้าหรือเท้าบวม
- เวียนศีรษะ หน้ามืดบ่อย
- มีอาการบวมน้ำ กดที่หลังเท้าหรือหน้าแข้งแล้วมีอาการบุ๋ม
- ตรวจร่างกายประจำปี
- หมั่นตรวจเช็กร่างกายหากมีอาการผิดปกติที่หัวใจ ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจ
- ผู้ป่วยโรคหัวใจควรจะดูแลตัวเองเป็นพิเศษ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ทานอาหารครบ 5 หมู๋
- ไม่รับประทานอาหาร หวาน, มัน, เค็ม
- พยายามอย่าเครียด
- ไม่ดื่มสุรา
- ไม่เสพยาเสพติด
- ไม่สูบบุหรี่
การรักษามีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ อาทิ
- หากเป็นไม่มากนักก็จะทำกาารรรักษาด้วยยา
- ทำบอลลูน
- ผ่าตัดบาสพาส
- ใช้จี้กล้ามเนื้อหัวใจ
- ติดเครื่องกระตุ้นหัวใจ
- ผ่าตัดลิ้นหัวใจ
- อันดับแรกกันคนออกอย่าให้มุง เพื่อให้อากาศถ่ายเท
- ตรวจวัดชีพจรว่ายังมีชีพจรและยังหายใจหรือไม่ หากยังมีครบไม่ต้องปั๊มหัวใจ
- หากผู้ป่วยไม่หายใจ ไม่มีชีพจร ให้ทำการปั๊มหัวใจ
- รีบโทร 1669 เรียกรถพยาบาลเร่งนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด หากถึงมือแพทย์ทันเวลาก็มีโอกาสรอดสูง
อย่างไรก็ตาม “ภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ-วัย แม้แต่แรกเกิดก็สามารถเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้เช่นกัน ดังนั้นการตรวจร่างกายประจำเป็นจึงมีความสำคัญมากที่จะช่วยคัดกรองผู้ป่วยได้ในเบื้องต้น” นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย