ประชาชนชาวไร่ชาวนา ต่างเฝ้ารอความคืบหน้าของมาตรการช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโควิด-19 หลายฝ่ายจับตาไปที่มาตรการของกระทรวงการคลัง ซึ่งมีการเสนอต่อที่ประชุมครม. ให้ช่วยเหลือเกษตรครัวเรือนละ 15,000 จำนวน 9 ล้านครอบครัว โดยจ่ายเงินผ่านทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส.
(ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ได้ที่นี่)
(ตรวจสอบสถานะความเป็นเกษตรกร และสมาชิกครัวเรือนได้ที่นี่)
ขณะเดียวกันประชาชนเกิดความสับสนเกี่ยวกับทะเบียนเกษตรกร โดยล่าสุด กรมส่งเสริมเกษตรกร ได้ตอบข้อสงสัยทั้งหมดเกี่ยวกับทะเบียนเกษตรกร ดังนี้
- ทะเบียนเกษตรกร หรือ ทบก. คืออะไร?
ข้อมูลของครัวเรือนผู้ประกอบการเกษตรที่แสดงถึงสถานภาพและการประกอบอาชีพการเกษตรของครัวเรือน ซึ่งเกษตรกรต้องมายื่นแบบ ทบก.01 เพื่อขึ้นทะเบียนเกษตรกร
สำหรับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร สามารถเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือและได้รับสิทธิ์ต่างๆ ตามมาตรการของรัฐ
- การปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร คืออะไร?
การแจ้งปลูกพืชทุกรอบการผลิต และการเปลี่ยนแปลงข้อมูลครัวเรือนผู้ประกอบการเกษตร เช่น เปลี่ยน / แก้ไข กิจกรรมการเกษตร หรือ สมาชิกในครัวเรือน
- เกณฑ์การขึ้นทะเบียนเกษตรกร?
บุคคลในครัวเรือนคนใดคนนึง หรือ หลายคนที่ประกอบการเกษตร
ฐานทะเบียนเกษตรกร กำหนดให้ 1 ทะเบียนบ้าน = 1 ครัวเรือน (ตั้งแต่ ต.ค.56 เป็นต้นมา)
ต้องประกอบกิจกรรม ดังนี้
4. ประกอบการเกษตร หมายถึง การปลูกพืช การเลี้ยงปศุสัตว์การเลี้ยงสัตว์น้ํา การทํานาเกลือสมุทร
การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม การเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ และเกษตรอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภค
หรือจําหน่ายหรือใช้งานในฟาร์ม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันดังต่อไปนี้
1) การทํานาหรือทําไร่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ รวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่ขึ้นไป
2) การปลูกผัก หรือการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ หรือการเพาะเห็ด หรือการปลูกพืชอาหารสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งงานขึ้นไป
3) การปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น หรือการปลูกสวนป่า หรือปลูกป่าเศรษฐกิจแบบสวนเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่และมีจํานวนต้นตั้งแต่สิบห้าต้นขึ้นไป
4) การปลูกไม้ผล หรือไม้ยืนต้นแบบสวนผสม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่
และมีจํานวนต้นตั้งแต่สิบห้าต้นขึ้นไป
5) การเลี้ยงแม่โคนม ตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป
6) การเลี้ยงโค หรือกระบือ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ตั้งแต่สองตัวขึ้นไป
7) การเลี้ยงสุกร แพะ หรือแกะ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ตั้งแต่ห้าตัวขึ้นไป
8) การเลี้ยงสัตว์ปีก ตั้งแต่ห้าสิบตัวขึ้นไป
9) การเลี้ยงสัตว์น้ํา หรือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน
10) การทํานาเกลือสมุทร บนเนื้อที่ตั้งแต่หนึ่งไร่ขึ้นไป
11) การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน
12) การเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจและเกษตรอื่นๆ หมายความว่า การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ผึ้งโพรง ชันโรงครั่ง
จิ้งหรีด ด้วงสาคูไส้เดือนดิน ชีวภัณฑ์และอื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน
13) ประกอบการเกษตร อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน นอกเหนือจากหลักเกณฑ์
ที่กําหนดตาม 1) ถึง 12) และมีรายได้ตั้งแต่แปดพันบาทต่อปีขึ้นไป
- ทะเบียนเกษตรกรมีข้อมูลอะไรบ้าง?
มีข้อมูล 9 หมวด
1. ข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน
2. สมาชิกครัวเรือนและการเป็นสมาชิกองค์กร
3. การถือครองที่ดินเพื่อการเกษตร
4. การประกอบกิจกรรมการเกษตร
5. แหล่งน้ำ
6. เครืองจักรกลการเกษตร
7. หนี้สิน
8. รายได้
9. การเข้าร่วมโครงการภาครัฐ
- สถานภาพในทะเบียนเกษตรกร จะสิ้นสุดลงเมื่อใด ?
1. เสียชีวิต
2. เป็นคนไร้ความสามารถ หรือ เสมือนไร้ความสามารถ
3. แจ้งยกเลิกประกอบการเกษตร
4. แจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
5. ไม่มีการปรับปรุงสถานภาพเลย ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี
(เริ่มใช้ตั้งแต่ 23 มิ.ย. 63 เป็นต้นไป และมีผลย้อนหลัง สำหรับผู้ไม่มาปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ตั้งแต่ 23 มิ.ย. 60)
อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถตรวจสอบสถานะหัวหน้าและสมาชิกครัวเรือนเกษตร ได้ที่ https://farmer.doae.go.th/