สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เร่งผลิตหุ่นยนต์ “CU-RoboCOVID” 103 ชุด มอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศใช้สู้ภัย COVID-19 ลดความเสี่ยงติดเชื้อ แบ่งเบาภาระงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ให้แพทย์และพยาบาล
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกันแถลงข่าว ร่วมสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ ส่งกองทัพหุ่นยนต์มากกว่า 100 ตัวลุยสู้โควิด ภายใต้ชื่อเคมเปญ "หุ่นยนต์เซฟหมอ หมอเซฟเรา เราเซฟหมอ"
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า PINTO คือ หุ่นยนต์ซีรี่ส์หนึ่งของ CU-RoboCovid โครงการพัฒนาหุ่นยนต์และอุปกรณ์สนับสนุนการแพทย์เพื่อ ส่งไปช่วยหมอสู้ภัย COVID-19 ช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อ แบ่งเบาภาระงาน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การทํางานให้บุคลากรทางการแพทย์ในยามนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และพันธมิตร จึงได้พัฒนา หุ่นยนต์ช่วยเหลือแพทย์ 3 ชุดหลัก ได้แก่ หุ่นยนต์ส่งของ (Remote Control Delivery Robot) หุ่นยนต์สื่อสารทางไกล (Telepresence Robot) และ หุ่นยนต์เครื่องช่วยหายใจ (Ambu Bag)
สําหรับปิ่นโต (PINTO) ที่เราผลิตในครั้งน้ี เป็นหุ่นยนต์ส่งอาหารและเวชภัณฑ์ ระยะไกลที่ติดตั้งพร้อมด้วยระบบ Telepresence โดยทําหน้าที่ส่งอาหารและเวชภัณฑ์ไปยังห้องผู้ป่วย พร้อมมีระบบภาพสื่อสารทางไกลที่ใช้งานง่าย ช่วยลดความเสี่ยงโดยเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ และยังช่วยอํานวยความสะดวกให้บุคลการทางการแพทย์ทํางานได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ เรายังมีซีรี่ส์ “น้องกระจก” (Quarantine Telepresent) เป็นหุ่นยนต์แท็บเลต ที่นําไปไว้ที่ห้องผู้ป่วย จะทําหน้าที่สอดส่องดูแล และพูดคุยกับผู้ป่วยได้โดยที่ไม่ต้องกดรับสาย นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังสามารถกดเรียกหาพยาบาลได้เมื่อต้องการความช่วยเหลือ ช่วยลดทั้งความเสี่ยงติด เชื้อและลดอัตราการใช้ชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ลง ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทํางาน ให้กับหมอและพยาบาลได้เป็นอย่างดี
สำหรับ "หุ่นยนต์นินจา” เป็นซีรี่ส์ที่ช่วยสื่อสารทางไกลระหว่างหมอกับผู้ป่วย COVID-19 ผ่านระบบ Video Conference โดยที่ทั้งหมอ พยาบาล ยังสามารถพูดคุย โต้ตอบ สอบถามอาการกับผู้ป่วยผ่าน ระบบ Telemedicine โดยไม่ต้องเข้าไปในหอผู้ป่วย และยังสามารถควบคุมและสั่งการการทํางานของ หุ่นยนต์ได้จากระยะไกล และที่มากไปกว่านั้น หุ่นยนต์นินจายังเชื่อมอุปกรณ์วัดและบันทึกสัญญาณชีพ ต่าง ๆ เช่น วัดความดัน วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ วัดชีพจร วัดอุณหภูมิ และส่งข้อมูลไปให้หมอใช้ประกอบการ วินิจฉัยอาการได้ทันที
สําหรับโครงการ CU-RoboCOVID ได้รับความร่วมมือจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทําให้มั่นใจว่าในอนาคตจุฬาฯ จะก้าวสู่การเป็นผู้สนับสนุนการสร้างบุคลากรตอบโจทย์ภัยคุกคามด้านสาธารณสุข ด้วยผลงานชั้นนําด้านนวัตกรรมทางวิศวกรรมการแพทย์ระดับโลกได้ต่อไป
+ อ่านเพิ่มเติม