PDPA หรือพรบ ข้อมูลส่วนบุคคล 2562 คือกฏหมายที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทย เช่น การศึกษา ฐานะการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม ประวัติการทำงาน และข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ แผ่นบันทึกลักษณะเสียง เลขบัตรประชาชน หรือเลขหมายเอกสารส่วนตัวอื่น ๆ โดยห้ามไม่ให้ผู้อื่นนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้เพื่อประโยชน์ในด้านใดด้านหนึ่งโดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ยินยอมให้นำไปใช้ประโยชน์ ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะอยู่ในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม
เนื่องจากปัจจุบันเราต้องติดต่อกับหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยใช้ข้อมูลส่วนตัวในการติดต่อเพื่อทำธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การเปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงิน เราต้องให้ข้อมูลส่วนตัวทั้งสำเนาบัตรประชาชน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์เพื่อการติดต่อ ข้อมูลที่เราให้เหล่านี้คือใช้เพื่อการเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารและเราอนุญาตให้ใช้เพื่อเปิดบัญชีกับธนาคารเท่านั้น แต่สิ่งที่เราต้องเผชิญในปัจจุบันคือ ข้อมูลส่วนตัวของเราถูกนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยขายข้อมูลต่าง ๆ ของเราให้หน่วยงานหรือองค์กรอื่น ๆ เพื่อไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น เรามักจะได้รับโทรศัพท์ติดต่อเพื่อเสนอขายสินค้าต่าง ๆ ทั้งทางโทรศัพท์ โดยที่เราไม่เคยติดต่อกับองค์กรดังกล่าวเลย ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของเรา ซึ่งกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA จะเข้ามาแก้ไขปัญหานี้
และเมื่อกฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ บริษัทที่เคยเก็บข้อมูลลูกค้าควรจะต้องปรับตัว ตั้งแต่ การเก็บข้อมูล, การใช้ข้อมูล, การควบคุมหากข้อมูลรั่วไหลอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องพัฒนาไปร่วมกันเพื่อให้กฎหมายสมบูรณ์และเหมาะสมกับสังคมไทยในอนาคต
สำหรับผู้ที่สนใจเรียนรู้ และเตรียมตัวรับมือ PDPA เรียนเชิญเข้าร่วมสัมมนา “สร้างความตระหนักแต่ไม่ตระหนก ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้ผู้ประกอบการ SMEs ในโลกยุคดิจิทัล” โดยความร่วมมือของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ในวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 ณ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล เวลา 13.00-16.30 น.
รับฟังกิจกรรมดีๆภายในงานได้แก่
► อภิปรายในหัวข้อ “รอกฎหมายลำดับรอง หรือจะเร่งรัดปฏิบัติตามมาตรฐาน GDPR”
► เผยแพร่ความรู้เชิงปฏิบัติการ “นโยบายบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในโลกดิจิทัล”
รีบลงทะเบียนสำรองที่นั่งก่อนใครได้ที่
♦ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
♦ คุณปุ๊ก 0820555551
+ อ่านเพิ่มเติม