'สุทิน' ซัดรัฐบาลไม่ยอมรับความจริง! ชี้ "ฉีกรัฐธรรมนูญ" เป็นภาษาพูดที่หมายถึงการล้มล้าง มั่นใจไม่ใช่เรื่องเท็จ
logo TERO HOT SCOOP

'สุทิน' ซัดรัฐบาลไม่ยอมรับความจริง! ชี้ "ฉีกรัฐธรรมนูญ" เป็นภาษาพูดที่หมายถึงการล้มล้าง มั่นใจไม่ใช่เรื่องเท็จ

TERO HOT SCOOP : สุทิน ซัดรัฐบาลไม่ยอมรับความจริง ปม ฉีกรัฐธรรมนูญ ชี้กรณีขอแก้ญัตติเป็นเรื่องไร้สาระ เตรียมขอประธานสภาเปิดอภิปราย 19 ก.พ. นี้ ห่ สุทินคลังแสง,รัฐธรรมนูญ,รัฐบาล,ฝ่ายค้าน

916 ครั้ง
|
04 ก.พ. 2563
'สุทิน' ซัดรัฐบาลไม่ยอมรับความจริง ปม ฉีกรัฐธรรมนูญ ชี้กรณีขอแก้ญัตติเป็นเรื่องไร้สาระ เตรียมขอประธานสภาเปิดอภิปราย 19 ก.พ. นี้ ห่วงรัฐบาลยื้อเวลาชนปิดสมัยประชุม
 
นายสุทิน คลังแสง ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน หรือ วิป ฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีที่ วิป รัฐบาล ยื่นเรื่องขอให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรแก้ญัตติของฝ่ายค้านที่ขออภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล โดยอ้างว่ามีการใช้ถ้อยคำอันเป็นเท็จ ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยของฝ่ายรัฐบาลเองว่าเป็นเท็จ ทั้งที่เรื่องนี้เป็นอำนาจการวินิจฉัยของประธานสภา ส่วนตัวไม่เห็นว่าญัตติดังกล่าวเป็นเท็จได้อย่างไร เพราะถ้าคิดว่าเรื่องที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ฉีกรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องเท็จ ฝ่ายรัฐบาลต้องเป็นคนบอกมาว่าใครเป็นคนฉีกรัฐธรรมนูญ จะเป็นพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี หรือ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย 
 
พร้อมยอมรับว่า การใช้คำว่าการฉีกรัฐธรรมนูญ เป็นภาษาพูดที่พูดกัน แต่ในภาษาทางการหมายถึงการล้มล้างรัฐธรรมนูญ ซึ่งส่วนตัวมั่นใจว่า การฉีกรัฐธรรมนูญไม่ใช่เรื่องเท็จ เพียงแต่ฝ่ายรัฐบาลไม่ยอมรับความจริงต่างหาก และเรื่องนี้เป็นเรื่องหยุมหยิม เป็นเรื่องของการใช้ภาษาและถ้อยคำเท่านั้น รัฐบาลควรเอาความจริงมาเป็นที่ตั้ง ถ้าไม่เช่นนั้นฝ่ายค้านก็ไม่รู้จะกล่าวหาใคร หรือจะให้ไปกล่าวหานายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีแทน จึงมองว่า เรื่องนี้ไม่น่าเป็นสาระ แต่ก็ต้องฟังการวินิจฉัยของประธานสภาด้วย ทั้งนี้ ส่วนตัวไม่อยากคิดว่าเป็นการตีรวน และไม่ต้องการให้เรื่องนี้มาเป็นประเด็น
 
นายสุทิน กล่าวถึงกรอบการอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ ว่า ต้องดูที่ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นว่าเกิดขึ้นจากจุดไหน แล้วต้องมาพิจารณาดูว่าอภิปรายย้อนหลังหรือไปข้างหน้า แต่ถ้าจะให้อภิปรายแต่ข้างหน้าก็เป็นไปไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องของอนาคต ทำให้ต้องมีการอภิปรายย้อนหลังไปถึงช่วง คสช. บ้าง เพราะหลายเรื่องเกิดจากรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องโยงไปถึงจุดตั้งต้นของปัญหา ซึ่งจะนำเรื่องนี้หารือกับประธานสภาด้วยว่าจะสามารถอภิปรายไปถึงขั้นไหน
 
ส่วนการกำหนดวันอภิปราย ที่ฝ่ายรัฐบาลเสนอให้อภิปรายตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ และลงมติวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้นั้น เห็นว่า เป็นความพยายามที่จะบล็อควันอภิปรายให้ชนกับวันปิดสมัยประชุมสภาในวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้ ส่วนตัวเห็นว่าวันที่เหมาะสม ควรจะเป็นวันที่ 19 กุมภาพันธ์ หรือจะเร็วกว่านั้นก็พร้อม เพราะถ้าระยะเวลาอภิปรายไม่เพียงพอก็จะได้ขอขยายเวลาได้อย่างเต็มที่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง