ปภ. สั่งทุกศูนย์พื้นที่เสี่ยงภัย รับมือ 'พายุโพดุล'
logo ข่าวอัพเดท

ปภ. สั่งทุกศูนย์พื้นที่เสี่ยงภัย รับมือ 'พายุโพดุล'

ข่าวอัพเดท : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กำชับศูนย์ ปภ.เขต และจังหวัดเสี่ยงภัยทั่วประเทศรับมือฝนตกหนักจากพายุ โพดุล ย้ำจัดชุดเผชิญเหตุพร้อมให้กา โพดุล,ฝนตก,กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย,อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย,พายุถล่ม,ฝนตกหนัก

4,192 ครั้ง
|
30 ส.ค. 2562
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กำชับศูนย์ ปภ.เขต และจังหวัดเสี่ยงภัยทั่วประเทศรับมือฝนตกหนักจากพายุ “โพดุล” ย้ำจัดชุดเผชิญเหตุพร้อมให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัย 
 
นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง ได้เน้นย้ำให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตประสานจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัย รับมืออิทธิพลจากพายุโพดุล ที่จะทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 30 ส.ค. – 1 ก.ย. 62 อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม สำหรับคลื่นลมในทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง คลื่นสูง 2 – 4 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร 
 
โดยแยกเป็น ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และอุทัยธานี 
 
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เลย บึงกาฬ หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ยโสธร และอุบลราชธานี 
 
ภาคกลาง ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี นครนายก เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 
 
ภาคตะวันออก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด 
 
ภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล 
 
ส่วนพื้นที่ติดตามสถานการณ์ดินถล่ม แยกเป็น ภาคใต้ ได้แก่ ระนอง (อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์) พังงา (อำเภอเมืองพังงา กะปง ตะกั่วป่า ท้ายเหมือง คุระบุรี) ภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กระทู้ ถลาง)
 
พื้นที่ติดตามสถานการณ์คลื่นลมแรง แยกเป็น ภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัย 
 
ทั้งนี้ กำชับให้ดำเนินการตามมาตรการและแนวทางการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน ระดับน้ำ และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ควบคู่กับการจัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์เข้าประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันที โดยขอให้ประชาชนติดตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด และหากได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
 
 
;

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง