'เรืองไกร' ยื่นนายกฯใช้ ม.44 เอาผิด 'อุตตม' ฐานปล่อยกู้ 9,900 ล้านบาท
logo ข่าวอัพเดท

'เรืองไกร' ยื่นนายกฯใช้ ม.44 เอาผิด 'อุตตม' ฐานปล่อยกู้ 9,900 ล้านบาท

ข่าวอัพเดท : นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีขอให้ใช้ม. 44 ดำเนินการกับนายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ในความผิดอนุมัติ เรืองไกร ลิกิจวัฒนะ,ม.44,นายกรัฐมนตรี,อุตตม สาวนายน,คดีปล่อยกู้กรุงไทย

1,520 ครั้ง
|
08 ก.ค. 2562
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีขอให้ใช้ม. 44 ดำเนินการกับนายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ในความผิดอนุมัติปล่อยกู้ให้เครือกฤษดามหานคร ยืนยันมีหลักฐานศาลฎีกาที่มีความเห็นชัดเจนว่ามติบอร์ดบริหารช่วยเหลือในการให้เงินกู้ พร้อมแฉเคยถูกคณะอนุ คตส. ตั้งข้อกล่าวหาแล้ว แต่ถูกตีตกในชั้นคณะกรรมการ คตส.
 
นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.พรรคไทยรักษาชาติ ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ให้ใช้มาตรา 44 กับนายอุตตม สาวนายน หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ว่าเหมาะสมจะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหรือไม่ เนื่องจากนายอุตตม มีความผิดครั้งเป็นกรรมการบริหารธนาคารกรุงไทย ในการปล่อยกู้เงินให้กับเครือกฤษดามหานคร วงเงินกว่า 9,900 ล้านบาท แม้นายอุตตมจะไม่ถูกดำเนินคดี แต่กรรมการบริหารธนาคารกรุงไทย 3 ใน 5 คนถูกดำเนินคดี และแม้นายอุตตมจะชี้แจงว่าไม่ได้เข้าร่วมประชุมในการพิจารณาอนุมัติ แต่มีหลักฐานชัดเจนคือรายงานการประชุมในวันที่ 18 ธ.ค. 2546 ที่นายอุตตมมีการเซ็นชื่อรับรอง จึงเป็นหลักฐานสำคัญที่นายอุตตมเกี่ยวข้อง พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตว่าคดีนี้เหตุใด จึงไม่พิจารณาเอาผิดคณะกรรมการทั้งหมด ซึ่งแตกต่างจากคดีหวยบนดินที่มีการพิจารณาทั้งหมด 
 
นายเรืองไกร ยังเปิดเผยด้วยว่า นายอุตตมเคยถูกคณะอนุกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐหรือ คตส. ตั้งข้อกล่าวหา แต่มีมติให้ข้อกล่าวหาตกไปเพราะไม่มีพยานหลักฐาน ซึ่งข้อมูลนี้ตรงข้ามกับที่นายอุตตมกล่าวว่าไม่ผิด เพราะในการพิจารณาของศาลฎีกาลงความเห็นไว้ชัดเจน ว่าการกระทำของคณะกรรมการบริหารกรุงไทยกระทำการฝ่าฝืน มีเจตนาช่วยเหลือในอนุมัติเงินกู้ ซึ่งเป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช. ที่จะตั้งคณะกรรมการไต่สวนเอาผิดต่อไป แต่กลับไม่มีการดำเนินการ 
 
ดังนั้นการที่นายกรัฐมนตรีจัดตั้งนายอุตตม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงถือว่าไม่เหมาะสม และขอให้ยับยั้งหรือใช้กฎหมายมาตรา 44 ดำเนินการกับนายอุตตม ซึ่งหากนายกรัฐมนตรีไม่มีการทบทวนการแต่งตั้งนายอุตตม หลังได้รับการโปรดเกล้าแล้วนายอุตตมได้เป็นรัฐมนตรีจะไปยื่นเรื่องกับคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต. พิจารณาคุณสมบัติ 
 
ส่วนกรณีนายธรรมนัส พรหมเผ่า ที่คุณสมบัติอาจจะขัดต่อการเป็น ส.ส.อยู่ระหว่างการรวบรวมหลักฐาน 
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง