นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถา นักธุรกิจอาเชียน พร้อมเดินหน้าพัฒนาร่วมกับภูมิภาค ย้ำบ้านเมืองมีเสถีรภาพ-ปรองดอง ผ่านการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย เตรียมขยายบทบาทภูมิภาค ภายใต้แนวคิดร่วมมือร่วมใจ ก้าวไกลยั่งยืน เชื่อมโยง ระบบอิเล็กทรอนิกส์ One Stop Service ให้ครบทั้ง 10 ประเทศ ยืนยัน เป็นนายกสมัยที่ 2 พร้อมจะเป็นนายกที่เรียบร้อยเรื่องใดไม่สำคัญก็จะไม่ตอบ
(21 มิ.ย. 62) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถา ในการประชุมผู้นำธุรกิจอาเซียน ครั้งที่ 5 ในหัวข้อ The Future of Thailand and ASEAN ซึ่งเป็นการกล่าวปาฐกถาครั้งแรก กับนักธุรกิจต่างประเทศ หลังชนะการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2 ว่าไทยมีพร้อมจะเดินหน้าไปพร้อมกับภูมิภาค ซึ่งปัจจุบัน ไทยมีเสถียรภาพ ก้าวพ้นสถานการณ์ความไม่สงบ มีความปรองดอง ผ่านการเลือกตั้งระบอบประชาธิปไตย และสามารถแก้ปัญหาคั่งค้างที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ เช่น การประมงผิดกฎหมาย การปราบปรามการค้ามนุษย์ และในโอกาสที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนให้ทำหน้าที่ต่อ ยืนยันจะพยายามปฎิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ เพื่อสานต่อนโยบาย โดยในปี 2561ดัชนีเศรษฐกิจไทย บ่งชี้ว่าสถานการณ์ในประเทศด้ขึ้น เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 4.1สูงสุดในรอบ 6 ปี มูลค่าส่งออกระดับ 2.53 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงเป็นประวัติการณ์ และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 3.8 สูงที่สูดในรอบ 6 ปี เช่นกัน ด้านการท่องเที่ยว ปี 61 เพิ่มขึ้น 2.9ล้าน ตั้งเป้าปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศ 40 ล้านคน ซึ่งจะเป็นแหล่งรายได้สำคัญ
ขณะเดียวกันมีเงินสำรองในประเทศสูงเป็นอันดับ 12 ของโลก ขณะทีขั้นตอนการอนุญาตกฎระเบียบในการทำธุรกิจ มีการแก้ไขให้ได้รับความสดวกในอันดับต้นของโลกและเป็นอันดับ3ในอาเซียน และมีการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ต่อยอดอุตสาหกรรมเดิม รองรับอุตสาหกรรมใหม่ ผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษตะวันออกหรือ EEC .ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจอาเซียน และมีนโยบายพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องและมีการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ20 ปี ซึ่งเป็นกรอบในการพัฒนาประเทศ นำพาประเทศชาติมั่นคงประชาชนมีความสุข รวมถึงแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ
ขณะเดียวกันมีการเตรียมความพร้อมรองรับ ปัญญาประดิษฐ์ หรือระบบ AI. ทำงานแทนคน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าโลกปัจจุบัน ต้องเผชิญกับความท้าทายเศรษฐกิจและการค้าโลก ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของประชาชนทุกระดับ ภายใต้ความท้าทายเหล่านี้ ไทยและอาเซียนมีความพร้อมที่จะรับมือ เพราะเป็นตลาดขนาดใหญ่ของโลก เพราะมีประชากรมากกว่า 650 ล้านคน และเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก ซึ่งมูลค่า GDP ของอาเซียน เท่ากับ 2.8ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 5.3 มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศเท่ากับ 1.37 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นการเติบโตร้อยละ 11.6 และนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเยือนภูมิภาคนี้ถึง 125.5 ล้านคน ซึ่งไทยถือเป็นที่หมายที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้น ๆ นอกจากนี้อาเซียนยังมีกลไกความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเชื่อมโยงจุดแข็งที่หลากหลาย ที่สำคัญคือ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ระหว่าง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และอีก 6 ประเทศคู่เจรจา (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้ โดย RCEP จะเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก คือ GDP รวมกันเท่ากับหนึ่งในสามของ GDP โลก เป็นโอกาสให้อาเซียนสามารถเติบโตภายในได้อีกมาก และในการรับหน้าที่ประธานอาเซียนปีนี้ ไทยได้เสนอหลักคิดหลัก คือ ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืนและมีเป้าหมายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 3 ด้าน คือ 1. เตรียมความพร้อมสู่ความพร้อมปฎิวัติอุตสาหกรรม 2. ส่งเสริมความเชื่อมโยงทางการค้าการลงทุน ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จุดเดียวของอาเซียนครบ 10 ประเทศ 3. สร้างความยั่งยืนในทุกมิติเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ ให้ประชาชนอยู่ดีกินดีตลอดจนเชื่อมโยงระบบชำระเงินและธุรกรรมในสกุลท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ ผ่านความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกับทั้งมิตรประเทศและประชาคมระหว่างประเทศ
ซึ่งประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียน จะต้องพัฒนาความร่วมมือภายใต้วิสัยทัศน์ที่มุ่งสู่อนาคตมากขึ้น เพื่อให้พร้อมที่จะเชื่อมโยงระหว่างกันภายในประชาคมและกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคมากขึ้น ให้เป็นอาเซียนที่ไร้รอยต่อ ขับเคลื่อนประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งหลังการประชุมสุดยอดอาเซียนไทยจะเข้าประชุมผู้นำ g20 ที่ญี่ปุ่นโดยจะเน้นหลักการสำคัญในฐานะประธานอาเซียนสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างเสรีเปิดกว้างครอบคลุมยั่งยืนไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรียังบอกกล่าวทิ้งท้ายกับนักธุรกิจที่เข้าฟังปาฐกถาว่า วันนี้อยากพูดหลายเรื่องเพราะไม่ได้พูดมาหลายวัน แต่ต่อจากนี้ไปพร้อมที่จะเป็นนายกที่จะเรียบร้อย เรื่องใดไม่สำคัญก็จะไม่ตอบ
+ อ่านเพิ่มเติม