จากกรณี น.ส.บุตรศรัณย์ ทองชิว หรือ น้ำตาล เดอะสตาร์ 5 เกิดอาการป่วยหนักอย่างกะทันหัน โดยมีเลือดไหลออกทางปาก จมูก และหายใจไม่สะดวก จนต้องทำการปั๊มหัวใจที่บ้าน โดยขณะนี้น้ำตาลกำลังรักษาตัวที่อยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช ตามที่นำเสนอข่าวไปแล้วนั้น
ล่าสุดวันที่ 13 มิ.ย. 62 เมื่อเวลา 14.00 น. ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ชี้แจงอาการของน้ำตาล บุตรศรัณย์ ทองซิว โดยมี รศ.นพ.ปรัญญา สายลักษณ์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์ หัวใจและทรวงอก ภาควิชาศัลยศาสตร์ และคุณแม่สุขใจ ถิรเมธีกุล ร่วมด้วย ณ ห้องสิรินธร อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น G รพ.ศิริราช
ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ เปิดเผยว่า ตามที่ รพ.ศิริราชได้รับการส่งตัวน้ำตาล จาก รพ.สมุทรสาครเข้ามารับการรักษา ต่อเมื่อวันที่ 12 มิ.ย.62 เวลา 08.15 น. ณ หอผู้ป่วย ICU ตั้งตรงจิตร 1 ตึกสยามินทร์ ชั้น 6 ด้วยอาการอาเจียนเป็นเลือดในปริมาณมาก ส่งผลให้มีอาการหายใจลําบาก และทําให้หัวใจหยุดเต้น และได้ทําการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพ (CPR) จํานวน 2 ครั้ง ที่บ้านและรพ.สมุทรสาคร
หลังจากนั้นได้มีการประสานงานจากทีมแพทย์ มายังคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดย รศ.นพ.ปรัญญา สายลักษณ์ ได้เดินทางไปยัง รพ.สมุทรสาคร และทําการผ่าตัดใส่เครื่องช่วยพยุงการทํางานของหัวใจและปอด (ECMO) ณ รพ.สมุทรสาคร ก่อนที่จะย้ายผู้ป่วยมารักษาต่อ ณ รพ.ศิริราช
เมื่อมาถึงหอผู้ป่วย ICU ตั้งตรงจิตร 1 ทีมแพทย์ได้ทําการตรวจ พร้อมวางแผนการรักษาผู้ป่วย เริ่มจากการ ปรับเปลี่ยนกระตุ้นหัวใจ และยาเพิ่มความดัน พร้อมให้ยาแก้ไขสภาวะความเป็นกรดด่างของเลือด รวมทั้งมีการใช้ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อการเฝ้าระวังสัญญาณชีพอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง จนสัญญาณชีพของผู้ป่วยคงที่ พอที่จะนํา ผู้ป่วยไปตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม
และเมื่อเช้าวันนี้ (13 มิ.ย.62) ผู้ป่วยมีสัญญาณชีพคงที่ และไม่มีเลือดออกทางท่อหายใจแล้ว แพทย์จึงได้ พิจารณานําผู้ป่วยส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) สมอง และปอด เพื่อการวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ เลือดออกที่ปอด และวินิจฉัยประเมินความเสียหายของสมอง
ผลการตรวจพบว่า
1. ไม่พบตําแหน่งเลือดออกที่ปอดทั้งสองข้าง
2. สมองบวมมาก
แผนการรักษาต่อไป มีดังนี้
1. เนื่องจากยังไม่พบตําแหน่งที่เลือดออก จึงต้องเฝ้าระวัง และหาสาเหตุต่อไป เพราะอาจจะมีภาวะ
เลือดออกได้อีก
2. แก้ไขภาวะผิดปกติของเกลือแร่ในร่างกาย และให้ยาเพื่อลดอาการสมองบวม
3. ขณะนี้ยังคงให้การรักษาแบบประคับประคองร่วมกับการใช้เครื่องช่วยพยุงการทํางานของหัวใจและปอด(ECMO)
โดยตอนนี้ยังไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วเลือดออกจากอวัยวะส่วนไหนของร่างกาย จึงไม่สามารถวินิจฉัยโรคที่แน่ชัดได้ โอกาสในการเจออาการลักษณะนี้น้อยมาก และที่ผ่านมา แพทย์ยังไม่เคยพบเจออาการในลักษณะนี้มาก่อน โดยปกติเมื่อมีเลือดออก ทางแพทย์จะทราบว่าออกมาจากไหน แต่กรณีของผู้ป่วยไม่ทราบ จึงต้องใช้เวลาในการวินิจฉัย และยืนยันไม่ใช่เลือดออก เนื่องจากผลการตรวจเลือดตอนแรกขณะอยู่ที่รพ.สมุทรสาครนั้น เกล็ดเลือดไม่ได้ต่ำและไม่ได้มีเลือดออกหลายจุด
+ อ่านเพิ่มเติม