กทม. เตรียมพร้อม เฝ้าระวังฝนตก น้ำท่วม 56 จุด มั่นใจรับมือได้ หากปริมาณฝนที่ตก ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
logo ข่าวอัพเดท

กทม. เตรียมพร้อม เฝ้าระวังฝนตก น้ำท่วม 56 จุด มั่นใจรับมือได้ หากปริมาณฝนที่ตก ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

ข่าวอัพเดท : กรุงเทพมหานครประชุมเครียมความพร้อมรับมือฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ป้องกันน้ำท่วม ระบุมีจุดเฝ้าระวัง 56 จุด และจุดเสี่ยง 14 จุด มั่น กทม,น้ำท่วม กทม,จักรพันธ์ ผิวงาม,รับมือน้ำท่วม,น้ำท่วม

1,079 ครั้ง
|
21 พ.ค. 2562
กรุงเทพมหานครประชุมเครียมความพร้อมรับมือฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ป้องกันน้ำท่วม ระบุมีจุดเฝ้าระวัง 56 จุด และจุดเสี่ยง 14 จุด มั่นใจรับมือได้ หากปริมาณฝนที่ตกใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
 
วันที่ 21 พ.ค. 62 นายจักรพันธ์ ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประชุมติดตามความพร้อมรับมือสถานการณ์ฝน หลังกรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ โดยมีสำนักการระบายน้ำ, ตัวแทนสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต มาร่วมวางแผนเตรียมรับมือ ป้องกันน้ำท่วมจากฝนที่ตกลงมา
 
โดยขณะนี้ได้เตรียมความพร้อมทั้งการเฝ้าระวัง และซักซ้อมแนวทางปฎิบัติ ซึ่งในปีนี้กรุงเทพมหานครมีพื้นที่เสี่ยงทั้งหมด 14 จุด ที่หากฝนตกลงมาไม่เกิน 60 มิลลิเมตร และอาจทำให้น้ำท่วมขัง และมีพื้นที่จุดเฝ้าระวัง 56 จุด
 
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครมีสถานีเรดาร์ ทดสอบการเกิดผลทั้งหมดใน 3 จุด คือ ที่หนองจอก หนองแขมและหนองบอน ทั้ง 3 สถานีนี้ จะสามารถตรวจสอบได้ว่าฝนจะเข้าในพื้นที่ปริมาณคาดการณ์เท่าไหร่ จากนั้นเมื่อสำนักการระบายน้ำได้ทราบข้อมูล ก็จะแจ้งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้รับทราบ เพื่อเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ประจำจุดต่างๆ
 
ส่วนการเตรียมความพร้อม ลอกท่อระบายน้ำ ทั้ง 6,400 กิโลเมตร จำนวนคูคลองทั้งหมด 1,682 คลอง มีการดำเนินการแล้วมากกว่าร้อยละ 90 ส่วนเครื่องสูบน้ำที่มีอยู่ประมาณ 1,500 ถึง 1,600 เครื่อง สำนักงานเขต และสำนักการระบายน้ำ ได้ดำเนินการติดตั้งครบถ้วนทั้งหมดแล้ว ซึ่งหลังจากนี้จะมีการทดสอบระบบเป็นระยะ
 
ส่วนพื้นที่รอยต่อระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้มีการประสานงานร่วมกันกับหน่วยงานต่างๆ เช่นบริเวณถนนลาซาล ที่ได้ประสานงานกับทางกรมทางหลวง และทางจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีประตูระบบน้ำคลองสำโรงเหนือ และใต้ ส่วน กทม. มีประตูระบายน้ำบริเวณคลองบางนา ซึ่งได้มีการทำระบบร่วมกัน
 
ขณะที่ตามเส้นทางแนวการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆ ก็ได้มีการประสานกับทาง รฟม. ในการดำเนินการขุดลอกคลอง และการก่อสร้างบ่อพักน้ำ ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้ บางจุดก็อาจจะล่าช้าสุดคือกลางเดือนมิถุนายนเป็นต้น
 
อย่างไรก็ตามพบว่าประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพมหานครในปีนี้ ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา หากปริมาณฝนใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ก็มั่นใจว่าจะสามารถรับมือได้