กระทรวงทรัพย์ฯ ยันควบคุมฝุ่นจิ๋วได้ ลั่นยังไม่ถึงขั้นวิกฤตประกาศพื้นที่ควบคุมรำคาญ
logo ข่าวอัพเดท

กระทรวงทรัพย์ฯ ยันควบคุมฝุ่นจิ๋วได้ ลั่นยังไม่ถึงขั้นวิกฤตประกาศพื้นที่ควบคุมรำคาญ

ข่าวอัพเดท : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยืนยันว่ายังสามารถควบคุมสถานการณ์ฝุ่นPM2.5 ไม่ให้สูงถึงระดับค่าวิกฤติหรือ 90 ไมโ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,ฝุ่นPM2.5,ฝุ่นละองง,ฝุ่นละอองกทม

2,125 ครั้ง
|
23 ม.ค. 2562
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยืนยันว่ายังสามารถควบคุมสถานการณ์ฝุ่นPM2.5 ไม่ให้สูงถึงระดับค่าวิกฤติหรือ 90 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ดังนั้นยังไม่จำเป็นต้องยกระดับประกาศพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ .2535 หรือใช้อำนาจพิเศษ ตามมาตรา9 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535
 
(23 ม.ค. 62) พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานแถลงข่าว พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามการแก้ปัญหาPM2.5 ยืนยันว่าขณะนี้ถือว่าหน่วยงานต่างๆ ยังควบคุมสถานการณ์ฝุ่นPM2.5 ไม่ให้สูงถึงระดับวิกฤติ หรือ 90 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ติดต่อกัน3วันได้ แสดงว่ามาตรการต่างๆที่ทำอยู่ขณะนี้ ถือว่าได้ผล เพราะวันนี้ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 40 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร บางจุดอาจจะมีเพิ่มขึ้นเป็น 50-60 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร แต่ก็เป็นช่วงเวลาสั้นๆ แล้วก็จะลดระดับลง
 
ดังนั้นตอนนี้ถือว่ามาตรการต่างๆที่ภาครัฐดำเนินการยังได้ผล ไม่จำเป็นต้องประกาศพื้นที่ควบคุมพิเศษใดๆ แต่ถ้าสถานการณ์ร้ายแรงขึ้น ภาครัฐก็เตรียมแผน4ระดับ รองรับไว้แล้ว ซึ่งแผนนี้ทุกหน่วยงานทำงานร่วมกันมา ตั้งแต่ 19 พฤศจิกายน 2561 
 
ขณะนี้ปัญหาPM2.5 ที่เกิดขึ้น ยังอยู่ในแผนปฏิบัติการระดับ1-2 เท่านั้น ถ้าเราพบค่าPM2.5 เพิ่มขึ้นในระดับวิกฤติ ในลักษณะ นิ่ง/นาน/ต่อเนื่อง ก็อาจจะพิจารณายกระดับความเข้มข้นใช้แผนระดับที่3และระดับที่4ต่อไป
 
โดยแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาPM2.5 ที่หน่วยงานวางมาตรการไว้ 4 ระดับ ประกอบด้วย ระดับที่1 เมื่อค่าฝุ่นละออง PM2.5 อยู่ในช่วง 51-90 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ให้หน่วยงานต่างๆเพิ่มความเข้มข้นการดำเนินมาตรการต่างๆ เช่น การเพิ่มจุดตรวจควันดำจาก 20 จุด เป็น 25 จุด /จัดชุดตรวจการ 16 ชุด ตรวจรถ ขสมก. /การคืนผิวจราจรในพื้นที่ก่อสร้างรถไฟฟ้า /การฉีดพ่นน้ำแรงดันสูง/เพิ่มความถี่การล้างถนน ควบคุมการก่อสร้าง และลดการเผาในที่โล่ง 5 จังหวัดรอบปริมณฑล
 
ระดับที่ 2 หากฝุ่นละออง PM2.5 เกิน 90ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ติดต่อกัน3วัน จะยกระดับเป็นมาตรการระดับ 2 ด้วยการควบคุมและลดจำนวนแหล่งกำเนิด เช่นลดจำนวนรถที่เข้าพื้นที่/หยุดก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้า ยกระดับแก้ไขแหล่งกำเนิดมลพิษประเภทอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐานที่ดีกว่าปัจจุบัน หากดำเนินการระดับ 2 แล้วไม่ดีขึ้น จะยกระดับแก้ปัญหาเป็นระดับ 3 โดยให้อำนาจผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา 28/1 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ประกาศกำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ / หากใช้มาตราการระดับ 3 ค่าฝุ่นยังสูงกว่า 90 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ติดต่อกัน3วันได้อยู่จะยกระดับเป็น มาตราการระดับ 4 คือให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เสนอให้นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจพิเศษ ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 สั่งการให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ กระทำหรือร่วมกันกระทำการใดๆ เพื่อระงับหรือบรรเทาผลร้ายจากอันตรายและความเสียหายที่เกิดจากการแพร่กระจายของฝุ่น PM2.5 ต่อไป 
 
ซึ่งยืนยันว่าขณะนี้สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ตามมาตรการที่หน่วยงานต่างๆทำงานอยู่ขณะนี้
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง