10 เรื่อง (ไม่ลับ) ของสัตว์โลก ที่คนดูแลสวนสัตว์อยากเม้าท์ให้ฟัง
logo ข่าวอัพเดท

10 เรื่อง (ไม่ลับ) ของสัตว์โลก ที่คนดูแลสวนสัตว์อยากเม้าท์ให้ฟัง

ข่าวอัพเดท : รู้หรือไม่ว่า... 1 ใน 5 ของประชากรสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคือ ค้างคาว? หรือที่จิงโจ้เดินงุ่มง่าม เพราะมันไม่สามารถขยับขาได้อย่างอิสระ? เ เรื่องน่ารู้สัตว์โลก,เลี้ยงสัตว์,สวนสัตว์,คนดูแลสวนสัตว์,เรื่องลับของสัตว์,สัตว์โลกน่ารัก

6,765 ครั้ง
|
19 ต.ค. 2561

รู้หรือไม่ว่า... 1 ใน 5 ของประชากรสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมคือ ค้างคาว? หรือที่จิงโจ้เดินงุ่มง่าม เพราะมันไม่สามารถขยับขาได้อย่างอิสระ? เรื่องราวของสัตว์เหล่านี้กำลังถูกเปิดเผย โดยพนักงานต้อนรับของสวนสัตว์และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำโคลัมบัส เผยข้อเท็จจริงบางอย่างที่น่าสนใจเกี่ยวกับสัตว์เหล่านี้จะทำให้คุณทึ่งไปกับมัน!

พนักงานต้อนรับของที่นี่ เป็นครูอาสาสมัครผู้รับประกันว่า ผู้ที่เข้าชมจะได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เธอกล่าวว่า “พวกเราอยู่ที่นี่ เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับสัตว์ พูดคุยกับผู้เข้าชมเกี่ยวกับหลายโครงการอนุรักษ์ของสวนสัตว์ และช่วยพวกเขาในแบบที่เราทำได้ บางครั้งเราก็ช่วยบอกทางไปห้องน้ำให้พวกเขา” ฟังจากคำพูดนี้ งานนี้จึงดูเป็นงานที่จริงจังและต้องใช้ความรับผิดชอบมาก ลองจินตนาการดู...จะเป็นอย่างไรหากต้องเรียนรู้ชื่อและอายุของสัตว์ทั้งหมดที่อาศัยอยู่ภายในสถานที่แห่งนี้?

แต่สำหรับเธอ นี่คืองานที่เธอรักและคุ้มค่าที่จะแบ่งปันข้อมูลแก่ผู้เข้าชม รวมถึงช่วยให้ผู้เข้าชมได้รับประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมอีกด้วย

ไปดูกันดีกว่าว่า ประสบการณ์ที่สวนสัตว์แห่งนี้ จะทำให้เราทุกคนค้นพบอะไรบ้าง?

 

#1 ความจริงของกวางเรนเดียร์

กวางเรนเดียร์ เป็นกวางชนิดเดียวที่ทั้งตัวผู้และตัวเมียเขากวางจะโตขึ้น ตัวผู้จะผลัดเขาในช่วงต้นเดือนธันวาคม ส่วนตัวเมียจะผลัดเขาในช่วงใบไม้ผลิ ดังนั้น เรนเดียร์ทุกตัวจึงเป็นเพศเมียเหมือนกันหมด (ผู้ดูแลสวนสัตว์จึงชอบบอกเด็ก ๆ แบบนั้น)

ข่าวอัพเดท : 10 เรื่อง ไม่ลับ ของสัตว์โลก ที่ค

 

#2 ข้อต่อของนกฟลามิงโก

คนจะชอบคิดอยู่บ่อยๆ ว่า เข่าของนกฟลามิงโกงอไปผิดทาง แต่ใครจะรู้ว่านั่นไม่ใช่เข่า ส่วนที่อยู่ตรงกลางคือ ข้อเท้า ส่วนเข่าของมันอยู่ใกล้กับลำตัวต่างหาก

ข่าวอัพเดท : 10 เรื่อง ไม่ลับ ของสัตว์โลก ที่ค

 

#3 สีขนของหมีขั้วโลก

ขนของหมีขั้วโลกไม่ใช่สีขาว แท้จริงแล้วขนของมันไม่มีสี แต่มันมีผิวหนังสีดำ ที่เห็นเป็นขนสีขาวปกคลุมอยู่ทั่วตัวของมันนั้น เพราะ ขนของหมีขั้วโลกสะท้อนแสงแดดที่ทอดลงมาบนหิมะ ทำให้มันดูเป็นสีขาวและกลืนไปกับสภาพแวดล้อมนั่นเอง

ข่าวอัพเดท : 10 เรื่อง ไม่ลับ ของสัตว์โลก ที่ค

 

#4 ประชากรของค้างคาว

 หนึ่งในห้าของประชากรสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คือ ค้างคาว

ข่าวอัพเดท : 10 เรื่อง ไม่ลับ ของสัตว์โลก ที่ค

 

#5 จิงโจ้เดินงุ่มง่าม

จิงโจ้ไม่สามารถขยับขาได้อย่างอิสระ พวกมันต้องเคลื่อนขาไปพร้อม ๆ กัน เวลาอยู่บนบก แต่หากว่ายน้ำ พวกมันจะสามารถขยับขาแยกกันได้ ดังนั้นการกระโดด จึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการเคลื่อนที่ของจิงโจ้ พวกมันแกว่งทั้งสองขาไปข้างหน้า โดยใช้หางเป็นขาที่สามเพื่อยกลำตัวขึ้น

ข่าวอัพเดท : 10 เรื่อง ไม่ลับ ของสัตว์โลก ที่ค

 

#6 สีขนของลูกค่าง

“ปกติค่างจะมีสีเทาแกมเงิน แต่ลูกของพวกมันมีส้มสว่าง เหมือนกับสีส้มของขนม Cheetos ฉันไม่ได้เว่อร์นะ”

ข่าวอัพเดท : 10 เรื่อง ไม่ลับ ของสัตว์โลก ที่ค

 

#7 เวลานอนของยีราฟ

ยีราฟนอนเพียง 1-2 ชั่วโมง !

ข่าวอัพเดท : 10 เรื่อง ไม่ลับ ของสัตว์โลก ที่ค

 

#8 ความสามารถในการเลี้ยงลูกของแม่จิงโจ้

แม่จิงโจ้หนึ่งตัว สามารถให้นมลูกที่อายุต่างกันได้พร้อม ๆ กัน โดยตัวอ่อนในครรภ์ดูดเต้านมหนึ่ง ตัวที่อยู่ในกระเป๋าดูดเต้านมหนึ่ง และตัวที่ออกจากกระเป๋า ก็โผล่หัวเข้าไปดูดนมได้ ดังนั้นมันจึงน่าทึ่งสุด ๆ ที่แต่ละเต้านมสามารถสร้างน้ำนมที่แตกต่างไปตามความต้องการทางโภชนาการของลูกจิงโจ้ในแต่ละวัยได้

ข่าวอัพเดท : 10 เรื่อง ไม่ลับ ของสัตว์โลก ที่ค

 

#9 ช้างจำตัวเองได้

 ช้าง เป็นเพียงสัตว์ไม่กี่ชนิดที่สามารถผ่านการทดสอบกับกระจกได้ พูดอีกอย่างหนึ่ง คือ พวกมันสามารถจำภาพสะท้อนของตนเองได้! ทดสอบโดยการขีดเครื่องหมายชอล์กบนหน้าผากของช้าง และให้มันดูกระจก พวกจะมันเริ่มสำรวจรอยชอล์กบนหน้าผาก ซึ่งบ่งบอกว่ามันรู้ว่ากำลังมองตัวเองอยู่ โดยสัตว์ไพรเมตชั้นสูง และ ซีทาเซียชั้นสูง เช่น วาฬเพชฌฆาต ปลาโลมา ช้าง และ นกกางเขน เป็นเพียงสัตว์กลุ่มเดียวที่ผ่านการทดสอบนี้

ข่าวอัพเดท : 10 เรื่อง ไม่ลับ ของสัตว์โลก ที่ค

 

#10 ชิมแปนซีเป็นสัตว์ที่มีพันธุกรรมใกล้เคียงกับมนุษย์เรามากที่สุด

ชิมแปนซีแคระ คือสัตว์ที่มีสายพันธุกรรมใกล้เคียงกับมนุษย์มากที่สุด โดยมีดีเอ็นเอเหมือนกับมนุษย์ถึงร้อยละ 90 เลยทีเดียว!

ข่าวอัพเดท : 10 เรื่อง ไม่ลับ ของสัตว์โลก ที่ค

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : columbuszoo.org | Facebook