ภาษามือเหมือนกันทั้งโลกหรือไม่?
ภาษามือมีจุดกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร? และผู้พิการทางการได้ยินทั่วทั้งโลกใช้ภาษามือเดียวกันหรือไม่?
ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าภาษามือกำเนิดขึ้นที่ไหนและอย่างไร แต่นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่ามนุษย์รู้จักใช้การแสดงออกทางสีหน้าและท่าทางในการสื่อสารมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์แล้ว หรืออาจพูดได้ว่าภาษามือนั้นเก่าแก่กว่าภาษาพูดเสียอีก
หลายคนมักเข้าใจกันว่าภาษามือทั่วโลกนั้นเหมือนกันหมด คนหูหนวกเลยสื่อสารกันได้โดยไม่มีกำแพงทางเชื้อชาติและภาษา แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น
ภาษามือของแต่ละประเทศมีวิวัฒนาการที่เป็นอิสระจากกัน คนที่อยากเรียนภาษามือก็จะเข้าเรียนในโรงเรียนโสตศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนผู้พิการทางการได้ยิน ดังนั้นภาษามือของแต่ละประเทศก็จะแตกต่างจากกัน แม้แต่ประเทศที่มีภาษาพูดใกล้เคียงกันอย่างเช่นสหราชอาณาจักรกับสหรัฐอเมริกา ก็มีภาษามือที่แตกต่างกันลิบลับ จนใช้สื่อสารระหว่างกันไม่ได้
ในปี 1973 สมาคมคนหูหนวกโลก (World Federation of the Deaf) ริเริ่มเผยแพร่ชุดคำศัพท์ภาษามือมาตรฐานที่เรียกกันว่า 'ภาษามือสากล' เพื่อที่จะให้เป็นภาษากลางของภาษามือ เช่นเดียวกับภาษาเอสเปอรันโตที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นภาษากลางในโลกของภาษาพูด ทุกวันนี้ในการประชุมระดับนานาชาติ บางครั้งก็ใช้ภาษามือสากลเป็นภาษาหลัก
____________________
ขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ SCIENCE ILLUSTRATED ฉบับ Sep no. 2013
+ อ่านเพิ่มเติม