เฮ! ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ให้คนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน
logo ข่าวอัพเดท

เฮ! ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ให้คนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน

ข่าวอัพเดท : ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ให้ให้ชุมชนอยู่ในป่าได้ แต่ต้องกำหนดเขตอนุรักษ์และเขตใช้ประโยชน์ให้ชัด เพื่อคนมีที่ทำกิน และช่วยกันดู ครม.เห็นชอบ,ดูแลป่า,วิธีดูแลป่า,เขตอนุรักษ์

8,595 ครั้ง
|
22 พ.ค. 2561
ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชน ให้ให้ชุมชนอยู่ในป่าได้ แต่ต้องกำหนดเขตอนุรักษ์และเขตใช้ประโยชน์ให้ชัด เพื่อคนมีที่ทำกิน และช่วยกันดูแลป่า
 
พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.ทส. เปิดเผยว่า ร่าง พ.ร.บ.นี้เป็นส่วนหนึ่งในแผนปฏิรูปการบริหารจัดการป่าไม้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้ที่อยู่ติดชุมชน มีสาระสำคัญ คือ
1.ให้มีคณะกรรมการ 3 ระดับ ประกอบด้วย ระดับชาติ (รมว.ทส.เป็นประธาน) , ระดับจังหวัด (ผู้ว่าฯ เป็นประธาน) , ระดับท้องถิ่น (คนในชุมชนเลือกกันเอง) เพื่อมากำหนดรูปแบบและวิธีการบริหารจัดการป่าในชุมชนของตัวเอง
2.แต่ละชุมชนสามารถขอจัดตั้งป่าชุมชนได้ แต่ต้องกำหนดเขตอนุรักษ์ แยกออกจากพื้นที่เพื่อการใช้ประโยชน์ให้ชัดเจน
3.แต่ละชุมชนสามารถใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนได้ เช่น การเก็บของป่ามาขาย , การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ , รวมไปถึงการใช้แหล่งน้ำในป่า
4.เงินรายได้และทรัพย์สินส่วนกลางที่ได้จากค่าธรรมเนียม , ค่าบริการ , เงินบริจาค , หรือแม้กระทั่งต้นไม้ที่สมาชิกร่วมกันปลูก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อการจัดการป่าชุมชนในท้องถิ่นได้
5.รับรองสถานะการจัดตั้งป่าชุมชนเดิมที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ ตาม กม.เก่า
 
ซึ่งขณะนี้มีชุมชนที่อยู่ติดกับป่า 21,850 หมู่บ้าน 3 ล้านครัวเรือน กินพื้นที่ 19.1 ล้านไร่ ประกาศพื้นที่ป่าชุมชนไปแล้วตาม กม.เก่า 11,000 หมู่บ้าน ถ้าร่าง กม.ฉบับนี้ผ่าน สนช.และมีผลบังคับใช้ กระทรวงจะเชิญประชาชนเครือข่ายป่าชุมชน , กรมป่าไม้ , และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันร่างกฎกระทรวง เพื่อกำหนดรายละเอียดในวิธีปฏิบัติอีกครั้ง
 
ประเมินว่า ร่าง พ.ร.บ.ป่าชุมชนฉบับใหม่นี้ จะช่วยลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทำให้คุณภาพชีวิตของชุมชนดีขึ้น มูลค่าการพึ่งพิงป่าประมาณ 4,266 ล้านบาท ขณะที่ภาครัฐมีเครือข่ายมาช่วยเฝ้าระวังดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ด้วย
 
และสิ่งที่ทำควบคู่กัน คือ การแก้ไข ม.7 ของ พ.ร.บ.ป่าไม้ ปี 2484 เปิดช่องให้ชาวบ้านสามารถตัดไม้มีค่าในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ของตัวเอง เพื่อนำไปขายได้ เช่น ไม้พยูง , ประดู่ , สัก , มะค่า ฯลฯ จากเดิมที่ห้ามตัดเด็ดขาด ที่สาเหตุที่จะแก้ไข เพราะจะได้ส่งเสริมให้ประชาชนปลูกต้นไม้ และจะเป็นเหมือนเงินออมในอนาคต ที่สำคัญคือ ถ้าปลูกเองตัดเองได้ ก็จะช่วยลดการลักลอบเข้าไปตัดไม้มีค่าในป่าได้อีกทางหนึ่ง
 
ส่วนปัญหาที่อาจตามมา คือ พวกลักลอบตัดไม้ในป่าแล้วอ้างว่า ตัดในที่ดินของตัวเองนั้น (ตัดไม้สวมตอ) ก็ต้องให้หน่วยพยัฆไพรออกลาดตระเวน ปราบปราม กวาดล้าง คนกลุ่มนี้อย่างเข้มข้น
 
สำหรับแผนปฏิรูปการบริหารจัดการป่าไม้ในภาพใหญ่นั้น มีทั้งหมด 4 ด้าน คือ
1.บริหารจัดการป่าไม้เพื่อการอนุรักษ์ : ปกป้องรักษาป่าอนุรักษ์ 102.4 ล้านไร่ (32% ของพื้นที่ประเทศ) ที่มีอยู่ตอนนี้อย่างเต็มความสามาารถ
 
2. บริหารจัดการป่าไม้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศ : หน่วยงานราชการ / เอกชนที่จะขออนุญาตใช้พื้นที่ป่า เช่น ตัดถนน , สร้างอาคารสิ่งปลูกสร้าง ต้องออกแบบโครงการให้ใช้พื้นที่ป่า / ตัดต้นไม้ให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น และต้องส่งแบบก่อสร้างให้ตรวจสอบก่อน ถ้าจำเป็นต้องตัดจริงๆ จะให้ล้อมต้นไม้ยกออกไปปลูกที่อื่นแทน