กองบังคับการตำรวจจราจรเตรียมออกข้อบังคับจำกัดความเร็วบนท้องถนนในพื้นที่เสี่ยงให้ลดน้อยลงจากเดิมหลังพบว่าการขับขี่ด้วยความเร็วยังเป็นสาเหตุต้นๆของการเกิดอับัติเหตุจนสูญเสียชีวิต
หลังจาก กทม. ได้รับคัดเลือกจากมูลนิธิบลูมเบิร์กิเพื่อสาธารณประโยชน์ ให้เป็น 1 ใน 10 เมืองที่เข้าร่วมโครงการคิดริเริ่มเพื่อความปลอดภัยทางถนนทั่วโลกเป็นระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2558-2562) เพื่อลดอุบัติเหตุปละการสูญเสียบนท้องถนนที่เกิดขึ้มใน กทม. ให้ได้มากที่สุด อีกทั้งเป็นการรณรงค์สร้างจิตสำนึกเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนน
วันที่27-28 พ.ย. นี้ สถาบันทรัพยากรโลก หนึ่งในพาคีเครือข่ายองมูลนิธิบลูมเบิร์กเพื่อสาธารณะประโยชน์ จัดประชุมการบริหารจัดการการใช้ความเร็ว เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนใน กทม. โดยเชิญผู้แทนจากภาคีเครือข่ายด้านความปลอดภัยทางถนนทั้งในและต่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ กทม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งนำความสำเร็จของการบริหารจัดการจากหลายประเทศ มาถกและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
พล.ต.ต.ธีรศักดิ์ สุริวงศ์ ผู้บังคับการตำรวจจราจร ประธานในพิธี กล่าวว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมี 3 ส่วนคือ 1 คน 2 รถ สภาพถนน และ 3 สภาพแวดล้อม ซึ่งปัจจัยจากคน ที่เกิดจาก เมา ขับเร็ว เกิดขึ้นมากถึง 76% พฤติกรรมการขับรถเร็วกลายเป็นสาเหตุอันดับต้นๆของการเกิดอุบัติเหตุจนนำไปสู่การเสียชีวิต ส่วนปัจจัยจากรถ สภาพถนน เกิดขึ้น 23% และปัจจัยจากสภาพแวดล้อม เกิดขึ้น 1%
และในปี 2563 มีนโนบายต้องลดให้ได้ 50% การจำกัดความเร็วในพื้นที่เสี่ยง อาทิ ชุมชน หน้า ร.ร. และอีกหลายพื้นที่จึงเป็นอีก 1 มาตรการ ที่จะต้องเร่งรัดนำมาใช้โดยออกเป็นข้อบังคับเพื่อสำไปสู่การปฏิบัติที่เร็วที่สุด ซึ่งอาจจะพิจารณาลดความเร็วในพื้นที่ชุมชนจากเดิม 80 กม.ต่อชั่วโมง เหลือไม่เกิน 50 กม.ต่อ ชั่วโมงเพื่อให้อุบัติเหตุเกิดขึ้นน้อยที่สุด
+ อ่านเพิ่มเติม