ตะลึง! พบแมงกะพรุนกล่องชนิดใหม่ พิษรุนแรงหากสัมผัสอาจถึงตายใน 2-3 นาทีที่ทะเลอันดามัน
logo ข่าวอัพเดท

ตะลึง! พบแมงกะพรุนกล่องชนิดใหม่ พิษรุนแรงหากสัมผัสอาจถึงตายใน 2-3 นาทีที่ทะเลอันดามัน

ข่าวอัพเดท : ผศ.ดร.มัสลิน โอสถานันต์กุล อาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) พร้อมด้วย นางสาวอุษาวดี เดชศรี นักวิชาการประมง ศูนย์ว แมงกะพรุน,ตรัง,ทะเลอันดามัน

3,037 ครั้ง
|
08 ส.ค. 2560
 
ผศ.ดร.มัสลิน โอสถานันต์กุล อาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) พร้อมด้วย นางสาวอุษาวดี เดชศรี นักวิชาการประมง ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามัน จังหวัดภูเก็ต ได้นำเจ้าหน้าที่ และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประมาณ 10 คน ออกสำรวจฝูงแมงกะพรุนพิษ บริเวณอ่าวบุญคง ตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ตามโครงการสำรวจและรวบรวมความหลากชนิดของแมงกะพรุนและแมงกะพรุนพิษ ซึ่งเริ่มสำรวจมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 รวม 10 ครั้ง แต่เนื่องจากเป็นช่วงมรสุมคลื่นลมแรง ไม่สามารถออกไปยังแหล่งอาศัยของฝูงแมงกะพรุนพิษได้ ทีมนักวิจัยจึงได้วางอวนดักจับแมงกะพรุนพิษตามแนวชายฝั่งแทน โดยพบแมงกะพรุนไฟ 1 ตัว และดีเอ็นเอของแมงกะพรุนพิษอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะนำไปตรวจหาดีเอ็นเอว่า เป็นแมงกะพรุนกล่อง หรือแมงกะพรุนพิษชนิดใดบ้าง
 
ทั้งนี้ จากการสำรวจตั้งแต่ปลายปี 2559 พบว่า ในท้องทะเลตรัง มีแมงกะพรุนทั้งหมด 6 ชนิด ประกอบด้วยแมงกะพรุนกล่อง จำนวน 3 ชนิด คือ NORBAKKA, CHIROPSOIDES และ CHIRONEX นอกนั้นเป็นแมงกะพรุนไฟ แมงกะพรุนลายจุด และแมงกะพรุนลอดช่อง แต่สิ่งที่น่าตกใจก็คือ เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ทีมนักวิจัยได้พบแมงกะพรุนกล่องชนิดใหม่ ที่หากสัมผัสเข้าที่บริเวณลำตัวมากกว่า 50 % ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว หรือประมาณ 2-3 นาที
 
ก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม ทีมนักวิจัยพบว่าแมงกะพรุนพิษยังมีขนาดเล็กหรือเป็นวัยอ่อน แต่ในช่วงลมมรสุมนี้กลับพบว่ามีขนาดใหญ่ขึ้น และเพิ่มปริมาณมากขึ้น สำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการถูกพิษแมงกะพรุนพิษมากที่สุด ได้แก่ ชาวประมงที่ออกไปวางอวนดักจับสัตว์น้ำ ส่วนนักท่องเที่ยวมักจะไม่ลงเล่นน้ำทะเลในช่วงมรสุม
 
อย่างไรก็ตาม แมงกะพรุนกล่องที่พบในจังหวัดตรังทั้ง 3 ชนิด ยังไม่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ซึ่งทีมนักวิจัยยังคงออกเก็บตัวอย่างเป็นประจำทุกเดือน เพื่อเฝ้าระวังการแพร่กระจายของแมงกะพรุนพิษ โดยเฉพาะแมงกะพรุนกล่องชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบ ซึ่งจะมีการแจ้งเตือนผ่านทางเฟซบุ๊คของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งว่า ในพื้นที่ทุก 100 ตารางเมตร มีแมงกะพรุนพิษจำนวนเท่าไหร่ มากน้อยแค่ไหน โดยหากผู้ใดถูกพิษขอแนะนำให้ราดน้ำส้มสายชูต่อเนื่องอย่างน้อย 30 วินาที แต่หากไม่ดีขึ้นให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที

ข่าวที่เกี่ยวข้อง