พระราชประวัติ 'สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร'
logo ข่าวอัพเดท

พระราชประวัติ 'สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร'

ข่าวอัพเดท : “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” รัชกาลที่ ๑๐ เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเ ในหลวง,รัชกาลที่10,สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช

23,231 ครั้ง
|
29 พ.ย. 2559
พระราชสมภพ
 
“สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” รัชกาลที่ ๑๐ เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ เวลา ๑๗.๔๕ น. ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๙ ปีมะโรง จัตวาศก อธิกวาร จุลศักราช ๑๓๑๔ นับเป็นปีที่ ๗ แห่งการเสด็จขึ้นครองราชย์ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
 
 
ข่าวอัพเดท : พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวม
 
 
พระราชพิธีสมโภชเดือน และขึ้นพระอู่
 
เมื่อทรงเจริญพระชนมายุได้ ๑ เดือน กับ ๑๘ วัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกอบพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๕ ทั้งพิธีพราหมณ์ พิธีสงฆ์ และถวายเห่กล่อม โดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ในเย็นวันที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๕
 
เช้าวันรุ่งขึ้น (๑๕ กันยายน) จึงมีพิธีสงฆ์และพิธีพราหมณ์ในห้องพิธี เริ่มด้วยพอถึงพระฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงจรดพระกรรบิดกริบพระเกศา ทรงเจิม ทรงผูกด้ายพระขวัญ พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา พราหมณ์ประกอบพิธีลอยกุ้ง ปลาทอง มะพร้าวเงิน มะพร้าวทอง ลงในพระขันสาคร แล้วพระสงฆ์ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา
 
พระมหาราชครูเชิญเสด็จขึ้นพระอู่และเห่กล่อมเปิดศิวาลัยไกรลาศตามประเพณีพิธีของพราหมณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงวางพระราชภัณฑ์ลงในพระอู่ตามพระราชประเพณีแล้ว พระมหาราชครูเชิญพระราชโอรสขึ้นพระอู่ พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาท เวียนเทียนครบรอบตามประเพณี ในวาระนี้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดขับไม้มโหรีขับกล่อมถวายพระพร และมีการถ่ายทอดเสียงในพระราชพิธีทางวิทยุ ไปทั่วประเทศ
 
 
ข่าวอัพเดท : พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวม
 
 
ต่อมาเมื่อทรงเจริญพระชนมายุได้ ๑ พรรษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระนาม ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็น ผู้ตั้งถวายพระนามตามดวงพระชะตาว่า
 
“สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ
เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร
กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร”
 
ทรงอธิบายเป็นพระมงคลนามตามพระราชตระกูล คือได้อัญเชิญพระนามฉายาในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นพระไปยิกาธิราช ซึ่งปรากฏในขณะทรงพระผนวชว่า วชิรญาณะ ผนวกกับ อลงกรณ์ จากพระนาม “จุฬาลงกรณ์” ของรัชกาลที่ ๕
 
 
การศึกษา
 
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ” ทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ ๑ เมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๔๙๙ เมื่อพระชนมายุ ๔ พรรษา ณ โรงเรียนจิตรลดา ชั้นอนุบาล ตั้งอยู่ ณ พระที่นั่งอุดร ในพระราชวังดุสิต ต่อมาโรงเรียนย้ายไปตั้งในบริเวณพระราชฐานสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
 
ข่าวอัพเดท : พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวม
 
จากนั้นในเดือนมกราคม-กันยายน พุทธศักราช ๒๕๐๙ ทรงเข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนคิงส์มีด เมืองซีฟอร์ด แคว้นซัสเซกส์ ประเทศอังกฤษ และในเดือน กันยายนปีเดียวกันนั้นได้เสด็จฯ ไปทรงศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลล์ฟีลด์ เมืองสตรีท แคว้นซอเมอร์เซ็ต ประเทศอังกฤษ จนถึงเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓
 
ต่อจากนั้นในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ ทรงรับการศึกษาระดับเตรียมทหารที่โรงเรียนคิงส์ เขตพาร์รามัตตา นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ทรงศึกษาอยู่จนถึง เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๑๔ แล้วทรงศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาอักษรศาสตร์ (ด้านการทหาร) จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๙
 
 
ข่าวอัพเดท : พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวม
 
หลังจากนั้น ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก หลักสูตรประจำ ชุดที่ ๕๖ ระหว่าง พุทธศักราช ๒๕๒๐-๒๕๒๑ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๒๗ ทรงเข้ารับ การศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยทรงได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๐ และทรงเข้ารับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร แห่งสหราชอาณาจักร เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๓ ด้วย
 
สมเด็จพระยุพราช
 
เมื่อมีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ” เฉลิมพระอิสริยยศในตำแหน่ง สมเด็จพระยุพราชมกุฎราชกุมาร อันเป็นตำแหน่งพระรัชทายาทที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้น และประกาศสถาปนาขึ้นเป็น “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” พระองค์ที่ ๓ ของไทย เพื่อรับราชสมบัติ ปกครองราชอาณาจักรสืบสนองพระองค์ โดยมีพระนามาภิไธย ตามจารึกพระสุพรรณบัฏว่า
 
 
“สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒฯ วรขัตติยราชสันตติวงศ์
มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร”
 
ในมงคลวาระนั้น ”สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร” ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณในการพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งแสดงถึงน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงมุ่งมั่นจะบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อชาติบ้านเมือง และประชาชนชาวไทย เป็นที่ซาบซึ้งประทับใจพสกนิกรอย่างยิ่ง ดังความว่า
 
“ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกระทำสัตย์ปฏิญาณสาบานต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทยเฉพาะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เฉพาะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรท่ามกลางสันนิบาตนี้ว่า
 
ข้าพเจ้าผู้เป็น สยามมกุฎราชกุมาร จะรักษาเกียรติยศและอริยศักดิ์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้ด้วยชีวิต จะภักดีต่อชาติบ้านเมือง จะซื่อสัตย์ต่อประชาชน จะปฏิบัติภาระหน้าที่ทุกอย่าง โดยเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ และโดยความเสียสละ เพื่อความเจริญสงบสุขและความมั่นคงไพบูลย์ของประเทศไทยจนตราบเท่าชีวิตร่างกายจะหาไม่”
 
ข่าวอัพเดท : พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวม
 
 
ผนวช
 
ต่อมาเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน พระบรมราชานุญาต ให้ “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร” ทรงผนวชในพระพุทธศาสนา ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง เป็นเวลา ๑๕ วัน โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์, และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับถวายสมณนาม ว่า “วชิราลงกรโณ” ประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จนทรงลาสิกขา ในวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๑
 
ข่าวอัพเดท : พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวม
 
 
 
การรับราชการ
 
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงรับราชการ เป็นนายทหารประจำกรมข่าวทหารบก กระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๑๘
 
♦ จากนั้นทรงดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑ 
♦ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๓
♦ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๑๗ 
♦ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑ 
♦ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการ ถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ สำนักผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๕ 
♦ และทรงปฏิบัติหน้าที่ครูการบินเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ – ๕ อี/เอฟ เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗
 
ข่าวอัพเดท : พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวม
 
 
การฝึกอบรมทางทหาร
 
ทรงเข้ารับการฝึกอบรมทางทหารต่าง ๆ รวมถึงทรงศึกษางานด้านการทหารในประเทศออสเตรเลีย โดยทุนของกระทรวงกลาโหม ทรงประจำการ ณ กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษ ที่นครเพิร์ธ รัฐออสเตรเลียตะวันตก ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๑๙
 
 
ข่าวอัพเดท : พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวม
 
 
หลักสูตรและการฝึก
 
ทรงฝึกเพิ่มเติมในหลักสูตรวิชาอาวุธพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีการรบนอกแบบ
 
♦ หลักสูตรต้นหนชั้นสูง 
♦ หลักสูตรการลาดตระเวนและต้นหนชั้นสูง 
♦ หลักสูตรส่งอากาศ
 
หลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ ใช้งานทั่วไปแบบ ยู เอช – ๑ เอช ของบริษัทเบลล์ จำนวนชั่วโมงบิน : ๕๙.๓๖ ชั่วโมง และหลักสูตรการฝึกบิน เฮลิคอปเตอร์โจมตีแบบ เอ เอช – ๑ เอส คอบรา ของบริษัทเบลล์ ระหว่างเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๒ - เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๒๓
 
หลังจากนั้นทรงเข้ารับการฝึก และทรงศึกษา ตามโครงการช่วยเหลือทางทหารของกองทัพสหรัฐอเมริกา ที่ฟอร์ตแบรกก์ รัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา ในเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓ ตามหลักสูตรดังนี้
 
♦ หลักสูตรอาวุธประจำกายและเครื่องบินยิงลูกระเบิด
♦ หลักสูตรการปฏิบัติการพิเศษ
♦ หลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้าย
♦ หลักสูตรการสงครามแบบกองโจร
♦ หลักสูตรการฝึกการดำรงชีพ
♦ หลักสูตรส่งทางอากาศ (ทางบกและทางทะเล)
 
แล้วทรงเข้ารับการศึกษาหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ยู เอช – ๑ เอช และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปแบบ ยู เอช – ๑ เอ็น ของบริษัทเบลล์ จำนวนชั่วโมงบิน : ๒๔๙.๕๖ ชั่วโมง ระหว่างเดือนมิถุนายน - เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓
 
จากนั้นทรงเข้ารับการศึกษาหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธ (แบบ ยู เอช – ๑ เอช ของบริษัทเบลล์) ของกองทัพบกไทย จำนวน ชั่วโมงบิน : ๕๔.๕๐ ชั่วโมง ในเดือนกันยายน-ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓
 
ทรงเข้ารับการศึกษาหลักสูตรการฝึกบินเครื่องบินปีกติดลำตัวแบบ Siai - Marchetti SF ๒๖๐ MT จำนวนชั่วโมงบิน : ๑๗๒.๒๐ ชั่วโมง ในเดือน ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓ - เดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๒๔
 
ข่าวอัพเดท : พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวม
 
 
ทรงเข้ารับการศึกษาหลักสูตรการฝึกบินเครื่องบินปีกติดลำตัวแบบ Cessna T – ๓๗ จำนวนชั่วโมงบิน : ๒๔๐ ชั่วโมง เดือนมีนาคม-กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔
 
ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔ เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจการทางทหาร และตำรวจที่ประเทศอังกฤษ, เบลเยียม, สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี, เนเธอร์แลนด์, สาธารณรัฐฝรั่งเศส และออสเตรเลีย
 
จากนั้น ทรงเข้ารับการศึกษาหลักสูตร การบินเปลี่ยนแบบเป็นเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ – ๕ (พิเศษ) รุ่นที่ ๘๓ (พุทธศักราช ๒๕๒๖) เอ ที ดับบลิว และ หลักสูตรเครื่องบินขับไล่ชั้นสูง รุ่นที่ ๘๓ (พุทธศักราช ๒๕๒๖) เอ วี ดับบลิว ที่ฐานทัพอากาศวิลเลียมส์ รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา จำนวนชั่วโมงบิน : มากกว่า ๒,๐๐๐ ชั่วโมง ในเดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๕ - กันยายน พุทธศักราช ๒๕๒๖
 
ข่าวอัพเดท : พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวม
 
การปฏิบัติการรบ
 
ขณะทรงปฏิบัติหน้าที่ด้านการทหาร ได้ทรงเข้าร่วมปฏิบัติการรบในการต่อต้านการก่อการร้ายบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่ในบริเวณรอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชา ที่เขาล้าน จังหวัดตราด
 
 
ข่าวอัพเดท : พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวม
 
 
 
 
ข่าวอัพเดท : พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวม
 
 
และเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2559  เวลา 19.16 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จออก ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต พระราชทานพระราชวโรกาสให้  พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา เข้าเฝ้าฯ 
 
ในโอกาสนี้  นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทำหน้าที่ประธานรัฐสภา กราบบังคมทูลเชิญขึ้นทรงราชย์ สืบราชสันตติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 10 แห่งราชจักรีวงศ์ 
 
 
ในการนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระราชดำรัสตอบรับขึ้นทรงราชย์ จากนั้นเสด็จฯ ไปประทับราบ ณ พระสุจหนี่ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงกราบถวายบังคม ทรงเปิดกรวยกระทงดอกไม้ ธูปเทียนแพร และทรงกราบราบ จากนั้นทรงมีพระราชปฏิสันถารกับคณะผู้เข้าเฝ้าฯ.
 
ต่อมา ราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศเรื่องเฉลิมพระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีประกาศเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พุทธศักราช 2559 ว่า พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้แล้วตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 จึงได้มีการประชุมเพื่อรับทราบ และได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระรัชทายาท โดยประกาศให้ทราบทั่วกันว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์ เป็นพระมหากษัตริย์แล้ว นั้น
 
ทรงพระราชดําริว่าในระหว่างที่ประชาชนยังมิได้ถวายพระปรมาภิไธย เนื่องในการพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก อันจะพึงมีต่อไปตามพระราชประเพณีเป็นการสมควรที่จะเฉลิมพระปรมาภิไธยเป็นการชั่วคราว เพื่อความสะดวกในการเรียกขานพระนาม จึงมีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า
 
     สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
 
ประกาศ ณ วันที่ 1 ธันวาคม พุทธศักราช 2559 เป็นปีที่ 1 ในรัชกาลปัจจุบัน ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
 
ข่าวอัพเดท : พระราชประวัติ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวม

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : ครอบครัวข่าว3/ วิกิพีเดีย / มูลนิธิ 5 ธันวามหาราช

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง