คืบหน้าตรวจสอบบริษัทฯ บูรณะพระปรางค์วัดอรุณ ยันดำเนินการถูกต้องตามหลักของกรมศิลป์
logo ข่าวอัพเดท

คืบหน้าตรวจสอบบริษัทฯ บูรณะพระปรางค์วัดอรุณ ยันดำเนินการถูกต้องตามหลักของกรมศิลป์

3,532 ครั้ง
|
22 ส.ค. 2560
         ความคืบหน้ากรณีที่กรมศิลปกรได้ทำสัญญาว่าจ้างเลขที่77/2560 กับบริษัท ปรียะกิจ จำกัด ในการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณฯ และถูกสังคมตั้งคำถามว่าไม่มีความสามารถตรงกับงานที่ประมูลนั้น
 
         จากเรื่องดังกล่าวนี้ ทีมข่าวจึงได้ไปตรวจสอบข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของกรมศิลปกร พบว่าโครงการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณฯ ได้เปิดยื่นซองเสนอและประกาศจ้างงานเมื่อปี2557 โดยมี 7 บริษัทเข้าร่วม ซึ่งบริษัทปรียะกิจฯได้ปรับลดราคาลงถึง 2 ครั้ง และมีราคาที่ต่ำกว่าบริษัทคู่ค้า จึงทำให้คณะกรรมการพิจารณาให้บริษัทปรียะกิจฯได้รับโครงการนี้ไป 
 
         และที่ผ่านมา บริษัทปรียะกิจฯ เคยเสนองานและรับเหมางานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐมาไม่ต่ำกว่า 10 โครงการ และล่าสุดที่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมโบราณของชาติ คือ โครงการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณฯ
 
           บริษัทปรียะกิจ จำกัด ได้ชี้แจงถึงการดำเนินงานของบริษัท โดยระบุว่าบริษัทก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2541 เดิมใช้ชื่อว่า บริษัทปรียะธุระกิจ จำกัด ก่อนจะมาเปลี่ยนในปี 2558 ในเอกสารมีการระบุวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจบริการ รับเหมาก่อสร้างอาคาร อาคารพาณิชย์ งานโยธาทุกประเภท และด้านอื่นๆ ครอบคลุมไปถึงงานที่เกี่ยวกับบูรณะอนุรักษ์ เสริมความมั่นคงโบราณสถาน ขุดค้นขุดแต่งเขียนแบบออกแบบก่อนและหลังบูรณะ ขุดลอกคูน้ำ สระน้ำโบราณ ซึ่งที่ผ่านมาเคยรับงานบูรณะจากทางกรมศิลปากรมาอย่างต่อเนื่อง 
 
            ดังนั้นทีมงานจึงมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนี้ สำหรับโครงการบูรณะพระปรางค์และพระมณฑป วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร ทางบริษัทรับเหมามาตั้งแต่ปี 2556 และล่าสุดอยู่ในระยะที่ 5 จะแล้วเสร็จตามกำหนดสัญญาในวันที่ 30 ตุลาคมนี้ ส่วนกรณีเรื่องของกระเบื้องที่ตกแต่งพระปรางค์วัดอรุณฯ ยืนยันว่าดำเนินการถูกต้องตามหลักของกรมศิลปากร ส่วนใหญ่การบูรณะกระเบื้องลวดลายจะคงของเดิมเอาไว้ให้มากที่สุด หากชิ้นไหนสามารถซ่อมแซมได้ก็จะซ่อมแซมก่อนติดกลับไปไว้ที่จุดเดิม ยกเว้นบางส่วนที่เสื่อมสภาพหรือหลุดร่อนหายไป จึงได้มีการทำขึ้นมาใหม่ แต่จะคำนึงถึงความใกล้เคียงของเดิมมากที่สุด ขณะที่เศษกระเบื้องที่เหลือจะถูกเก็บเอาไว้โดยกรมศิลปากร และวัดอรุณฯ เพื่อใช้เป็นแบบและข้อมูลด้านการศึกษาประวัติศาสตร์
 
              ต่อมาเว็ปไซต์ของกรมศิลปกร โดยสำนักพัสดุฯ ได้ประกาศการจ้างงาน(TOR)ว่าด้วยการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณฯ ที่กำหมดให้บริษัทผู้รับเหมาต้องดำเนินการให้เป็นไปตามแบบการบูรณะฯตามที่กรมศิลปกรกำหนด , ผู้รับเหมาต้องจัดหาวิศวกรและนักวิชาการเข้ามาควบคุมงาน , การทำงานต้องมีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติทุกขั้นตอน , ผู้ดำเนินงานต้องมีความรู้ในการปฏิบัติ , และให้ดำเนินการงานกรอบเวลา ซึ่งประกาศดังกล่าวบริษัทปรียะกิจฯจึงได้เริ่มดำเนินการตามสัญญาจ้างงานในกรอบ250วัน และเป็นไปตามที่TORกำหนด
 
               ประกอบกับ อาจารย์สายันต์ ไพรชาญจิตร์ อดีตคณบดีคณะโบราณคดีมหาวิทยาลัยศิลปากร โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว กรณีนี้ว่า กรมศิลปกรมควรว่าจ้างผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินการ เพราะการที่ให้บริษัทนอกเข้ามาทำอาจส่งผลต่อสถาปัตยกรรมของชาติเพราะไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน พร้อมยอมรับว่าระบบการจ้างเหมา เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข เพราะอยู่คู่กรมศิลป์มายาวนานกว่า25ปี จนกลายเป็นผู้มีอิทธิพลกำหนดทิศทางการทำงานของกรมศิลป์
ข่าวทีี่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง