logo เงินทองของจริง

“สรรพากร” รู้รายได้เราได้อย่างไร ? ช่องทางไหนที่ใช้ตรวจสอบการเงินของเรา | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : วันนี้เรื่องควารู้เกี่ยวกับภาษี อยากทราบว่ากรมสรรพากรเขารู้รายได้เราได้ยังไง ? ช่องทางไหนบ้าง ที่สรรพากรใช้ตรวจสอบการเงินของเรา ch7hd news,tero digital,ch7hdnews,terodigital,เงินทองของจริง,moneycoach,money coach,โคชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โคชหนุ่ม จักรพงษ์,โคชหนุ่ม,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์,โค้ชหนุ่ม,โคชหนุ่มจักรพงษ์,โค้ชหนุ่มจักรพงษ์,กาย สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,กาย สวิตต์,กายสวิตต์,แพรว ภัทรนันท์ ประยูรวงค์,แพรว ภัทรนันท์,แพรวภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,การออม,ออมเงิน,เก็บเงิน,สอนลงทุน,สอนออมเงิน,สอนเก็บเงิน

6,657 ครั้ง
|
03 เม.ย. 2567
วันนี้เรื่องควารู้เกี่ยวกับภาษี อยากทราบว่ากรมสรรพากรเขารู้รายได้เราได้ยังไง ? ช่องทางไหนบ้าง ที่สรรพากรใช้ตรวจสอบการเงินของเรา 
 
มีทั้งหมด 8 ช่องทางที่เขาสามารถตรวจสอบได้แน่ ๆ ดังนี้
 
1. มีเงินโอนเข้าบัญชีหลายครั้ง และเป็นเงินจำนวนมาก
ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารภาครัฐ รวมถึงผู้ให้บริการด้านการเงินอื่น ๆ อย่าง Payment Gateway, e-Wallet เช่น ทรูมันนี่ เอ็มเพย์ แรบบิทไลน์ เพย์ มีหน้าที่รายงานธุรกรรมการฝากหรือรับโอนเงินนี้ให้กับกรมสรรพากร โดยมีเงื่อนไขในการส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากร ดังนี้
 
- มีเงินเข้าบัญชี 3,000 ครั้งต่อปี โดยไม่ดูจำนวนเงินว่าแต่ละครั้งจะมีมูลค่าเท่าไหร่
- มีเงินเข้าบัญชี 400 ครั้งต่อปี และ จำนวนเงิน (นับเฉพาะฝั่งเงินรับฝากเข้า) รวมเกิน 2 ล้านบาท 
 
ทั้งนี้ จะนับรวมเป็นรายปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีนั้น ๆ
 
2. ข้อมูลการรับเงิน (เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ใบกำกับภาษี)
ได้รับเป็นเงินสดไม่ผ่านธนาคาร แต่ผู้จ้างเป็นนิติบุคคลได้ทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ ผู้ประกอบการจะต้องนำส่งเงินภาษีที่หักให้แก่กรมสรรพากร
 
3. รับรู้รายได้ผ่านช่องทาง www.rd.go.th
วิธีการนี้ทางกรมสรรพากรจะใช้เว็บไซต์ของตนเอง คือ www.rd.go.th เป็นช่องทางการสืบค้นข้อมูลรายได้ โดยเปิดเมนู “การแจ้งเบาะแส/ข้อมูลแหล่งภาษี” ขึ้น 
 
4. Web Scraping เทคโนโลยีดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ 
สรรพากรนำเทคโนโลยีดึงข้อมูลจากเว็บเพจต่าง ๆ หรือ Web Scraping เข้ามาช่วยตรวจสอบกลุ่มผู้ค้าออนไลน์ ทั้งในรูปแบบที่ค้าขายปกติ
 
5. ใช้ระบบ Big Data & Data Analytics
สรรพากรใช้ระบบ Big Data & Data Analytics เพื่อคัดกรองว่า ผู้ประกอบการใดบ้างจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหลีกเลี่ยงภาษี และกลุ่มใดจัดอยู่ในกลุ่มดี ยกตัวอย่างกรณีดังที่มีผู้ค้าออนไลน์โพสต์ผ่านเฟชบุ๊กของตนเอง
 
6. เข้าร่วมโครงการของรัฐ 
หากเข้าร่วมโครงการของรัฐบาล เช่น โครงการคนละครึ่ง ช้อปดีมีคืน เราชนะ ชิมช้อปใช้ รายได้เหล่านี้จะถูกส่งให้กับกรมสรรพากร
 
7. สุ่มตรวจ
โดยกรมสรรพากรสุ่มจากหน้าเว็บต่าง ๆ เช่น Facebook ที่มีการโพสต์โชว์เงินโอนเข้า รายได้จากการขายสินค้าจำนวนมาก หรือไลฟ์สดขายของ สรรพากรจะสุ่มตรวจบุคคลเหล่านี้ว่ามีรายได้แล้วได้มีการยื่นแบบฯ เสียภาษีบ้างหรือไม่
 
8.พนักงานประจำ
กรณีที่เป็นพนักงานประจำที่ทางบริษัทมีการจ่ายเงินเดือนผ่านธนาคาร นอกจากผู้มีรายได้จะต้องเป็นคนนำข้อมูลจากใบ 50 ทวิ (หนังสือรับรองเงินได้หัก ณ ที่จ่าย) ซึ่งเป็นใบแจ้งรายได้ทั้งปีที่ทางบริษัทออกให้ไปยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้ว
 
ทางบริษัทก็จะมีเอกสารชี้แจงเงินได้ของเราส่งทางกรมสรรพากรด้วยอีกทางหนึ่ง (ภงด.1, ภงด.1ก) จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สรรพากรสามารถตรวจสอบรายได้ของเราได้
 
ถ้าไม่ทำการเสียภาษีให้ถูกต้อง จะเกิดอะไรตามมา ?
 
ถ้าสรรพากรพบว่า เราไม่จ่ายภาษี หรือจ่ายภาษีไม่ถูกต้อง ไม่ครบตามจำนวนเงินที่ระบุ เราก็จะโดนเรียกภาษีย้อนหลัง ซึ่งบทลงโทษและค่าปรับจะลดหลั่นกันไปตามความผิด ดังต่อไปนี้
 
1. ยื่นแบบภาษีทันกำหนด แต่เสียภาษีไม่ครบ มีค่าปรับดังนี้
- เสียเบี้ยปรับ 0.5 – 1 เท่า ของค่าภาษีที่ต้องจ่าย
- เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ
2. ไม่ได้ยื่นแบบภาษีภายในกำหนด มีค่าปรับดังนี้
- มีโทษปรับทางอาญาสูงสุด 2,000 บาท
- เสียเบี้ยปรับ 1–2 เท่า ของค่าภาษีที่ต้องจ่าย
- เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ
3. เจตนาละเลยไม่ยื่นแบบภาษีภายในกำหนดเพื่อเลี่ยงภาษี มีค่าปรับดังนี้
- มีโทษปรับทางอาญาสูงสุด 200,000 บาท หรือจำคุก 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
- เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของค่าภาษีที่ต้องจ่าย
- เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ
4. หนีภาษี มีค่าปรับดังนี้
- มีโทษปรับทางอาญาตั้งแต่ 2,000 – 200,000 บาท จำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี
- เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของค่าภาษีที่ต้องจ่าย
- เสียเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของภาษีที่ต้องจ่าย โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบจนถึงวันที่จ่ายครบ
 
ซึ่งปีนี้กำหนดเสียภาษีได้ถึง 4 เมษายนนี้นะครับ ใครที่ยังไม่ยื่น รีบยื่นได้แล้ว เพื่อไม่ให้มีปัญหาการปรับเงินในภายหลัง
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://www.youtube.com/live/hCajy90-KvU?feature=shared